Skip to main content

ปวดไหล่ ไหล่ติด

ว่าด้วยเรื่องอาการปวดไหล่ที่ไม่ใช่ไหล่ติด

    รู้หรือไม่อาการปวดไหล่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นไหล่ติดเสมอไป อาการปวดไหล่เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้ 

อาการปวดไหล่ เกิดได้จากสาเหตุอะไร

อาการปวดไหล่ เกิดได้จากสาเหตุอะไร

    หากเริ่มมีอาการปวดไหล่ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ในผู้ที่มีอาการปวดไหล่เรื้อรังหรือมีอาการไหล่ติด และไม่สามารถใช้งานไหล่ได้อย่างปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเกิดจากมีเส้นเอ็นหัวไหล่ฉีกขาด หรือ โรคเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ หากไม่รีบรักษาอาจมีภาวะข้อไหล่ติดได้ 

    ตามหลักกายวิภาคศาสตร์ ข้อไหล่ประกอบขึ้นจากกระดูก 3 ส่วน คือ

1. กระดูกท่อนแขนด้านบน (Humerus)

2. กระดูกสะบัก (Scapular)

3. กระดูกไหปลาร้า (Clavicle)

    ข้อไหล่ (ห้วกระดูกและเบ้า) จะอยู่ด้วยกันได้ด้วยตัวเยื่อหุ้มข้อ (Capsule) และเส้นเอ็นไหล่ (Rotator Cuff) ตัวเส้นเอ็น Rotator Cuff ประกอบขึ้นจากกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 4 มัดมาประกอบกันเป็นแผงโอบหุ้มข้อไหล่ ทำหน้าที่ให้ความมั่นคงกับข้อไหล่และเป็นแกนหมุนและยกหัวไหล่ นอกจากนี้ยังมีถุง (ฺBursa) ซึ่งให้ความหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีของเส้นเอ็น Rotator Cuff กับกระดูกส่วนบนของไหล่ (Acromion) เมื่อมีการอักเสบของเส้นเอ็นหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็น Rotator Cuff ตัวถุง (Bursa) นี้ก็จะมีภาวะอักเสบและมีอาการเจ็บเกิดขึ้นด้วย

    ข้อไหล่ของเราจะมีสิ่งที่เรียกว่า เส้นเอ็นกล้ามเนื้อไหล่ พาดผ่านข้อไหล่อยู่ ทำหน้าที่ในการขยับแขน เช่น ยก กาง บิด หมุนแขน ซึ่งถ้าเอ็นกล้ามเนื้อเหล่านี้เกิดการอักเสบขึ้น จะทำให้เกิดอาการปวดไหล่ ปวดด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลัง โดยจะปวดมากขณะขยับแขน ยกแขน กางแขน หรือหมุนแขนสุด บางครั้งอาจปวดร้าวไปยังต้นแขนได้ รวมทั้งอาจจะมีลักษณะการอักเสบ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน ร่วมด้วย บางครั้งอาจปวดมากในเวลากลางคืน แต่ยังสามารถขยับแขนได้สุดการเคลื่อนไหว แต่จะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย

 

3 โรคเกี่ยวกับข้อไหล่ที่พบมากและควรรู้ไว้เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันได้แก่

1.โรคเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ

    สาเหตุของการเกิดเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เกิดจากการใช้งานหรือขยับแขนในลักษณะเดิมซ้ำๆ เช่น กิจกรรมที่ต้องยกแขนสูงซ้ำๆ กิจกรรมหนักที่ต้องใช้แรงในการยกแขนซ้ำๆ กิจกรรมที่มีการบิดหมุนแขนซ้ำๆ เป็นต้น หรืออาจเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อไหล่ และอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญคือการนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่งซ้ำๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการกดเบียดเสียดสีระหว่างเอ็นกล้ามเนื้อกับกระดูกข้อไหล่ และเกิดอาการอักเสบตามมา 

2.โรคเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด 

    เมื่อเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดแล้วจะไม่สมานกันเองตามธรรมชาติ ขนาดของรอยขาดจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไปหากปล่อยทิ้งไว้ เส้นเอ็นที่ขาดจะหดตัวและไม่สามารถเย็บซ่อมได้อีก ซึ่งอาจทำให้มีข้อไหล่เสื่อมตามมาในอนาคต

    สาเหตุอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 

1. เอ็นไหล่ขาดเกิดจากความเสื่อมของเส้นเอ็นตามอายุที่มากขึ้น ส่วนใหญ่พบในคนไข้อายุ 50 ปีขึ้นไป

2. เอ็นไหล่ขาดเกิดจากอุบัติเหตุ เช่นการหกล้ม หรือการเหวี่ยงสะบัดแขนแรงๆ

3. เอ็นไหล่ขาดจากการกดทับของกระดูกอะโครเมียน ทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูกและเส้นเอ็นไหล่

3.โรคข้อไหล่ติด

    สาเหตุของข้อไหล่ติดเกิดจากการที่ถุงหุ้มข้อไหล่ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่รอบรอบข้อไหล่เกิดการอักเสบการยึดติด และการสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ทำให้ข้อไหล่ขยับได้น้อยลงและมีอาการปวด

    อาการข้อไหล่ติดมักจะมีอาการปวดเจ็บตื้อๆ โดยอาการปวดจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวอาการที่เด่นชัดคือไม่สามารถขยับข้อไหล่ได้มีอาการปวดเวลานอนทับ หรือในเวลากลางคืนอาการของโรคข้อไหล่ติดมี 3 ระยะ ได้แก่ 

ระยะที่ 1 ระยะเจ็บปวด อาการเจ็บปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น อาจมีอาการปวดแม้ไม่ ได้ทำกิจกรรมระยะนี้มักปวดนาน 6 สัปดาห์ -9 เดือนมุมการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง

ระยะที่ 2 ระยะข้อยึด อาการปวดระยะแรกยังคงอยู่ แต่จะอาการปวดลดลง การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงอย่างชัดเจน โดยทั่วไประยะนี้อาจนาน 4-9 เดือน หรืออาจนานกว่านี้ก้ได้

ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว อาการปวดจะลดลง และการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะค่อยๆ ดีขึ้นในช่วง 5 เดือน - 2 ปี

    สำหรับการตรวจวินิจฉัยจะมีการซักประวัติเกี่ยวกับอาการที่ปวด สาเหตุที่ทำให้ปวด ท่าทางที่ทำให้ปวดที่สุด ร่วมกับลักษณะท่าทางการทำงานและข้อบ่งชี้อื่นๆ รวมถึงมีการตรวจร่างกายโดยทำท่าทดสอบต่างๆเพื่อยืนยันว่ามีอาการของโรคเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบ และทางคลินิกยังสามารถตรวจวินิจฉัยโดยใช้ 

Musculoskeletal Ultrasonography หรือเครื่องอัลตร้าซาวน์เพื่อตรวจดูการอักเสบของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ เพื่อใช้ยืนยันถึงโรคเอ็นกล้ามเนื้อไหล่อักเสบได้ 

    ข้อดี

•    สามารถวินิจฉัยและประเมินสภาพของเส้นเอ็นบริเวณข้อไหล่ 

•    ตรวจได้ง่ายและได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว 

•    ไม่ต้องได้รับแสงรังสีซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย

•    ราคาไม่แพงมากเหมือนกับการตรวจด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)  

•    สามารถมองเห็นว่าเส้นเอ็นมีการบวม การอักเสบ การฉีกขาด หรือในบางครั้งที่มีหินปูนเกาะที่เส้นเอ็น ได้จากหน้าจอมอนิเตอร์ได้เลย

 

ภาพแสดงการใช้เครื่องอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยตรวจข้อไหล่

ภาพแสดงการใช้เครื่องอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยตรวจข้อไหล่

 

ภาพแสดงเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่ (Long head biceps tendon) ภาพแสดงเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่ (Long head biceps tendon)

ภาพแสดงเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่ (Long head biceps tendon) ที่การอักเสบโดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยในการตรวจ

 

    การรักษาโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบนั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดอาการปวด ลดการอักเสบ และคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ไว้ มีวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพต่างๆเพื่อช่วยในการลดปวดและลดอักเสบ 

 

ใช้เครื่องโฟกัสช๊อกเวฟ (Focus Shock wave) ยิงคลื่นกระแทกบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว เพื่อช่วยลดการเกร็งของตัวกล้ามเนื้อ

ใช้เครื่องโฟกัสช๊อกเวฟ (Focus Shock wave) ยิงคลื่นกระแทกบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว เพื่อช่วยลดการเกร็งของตัวกล้ามเนื้อ 

 

ใช้เครื่อง High power laser เพื่อช่วยลดอาการปวด ลดอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม ฟื้นฟู ให้หายไวขึ้น

ใช้เครื่อง High power laser เพื่อช่วยลดอาการปวด ลดอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม ฟื้นฟู ให้หายไวขึ้น

 

ใช้คลื่นความร้อนลึก หรือเครื่อง Ultrasound therapy เพื่อช่วยลดปวด ช่วยให้เกิดการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น

ใช้คลื่นความร้อนลึก หรือเครื่อง Ultrasound therapy เพื่อช่วยลดปวด ช่วยให้เกิดการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น

 

ใช้ TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulation กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด

ใช้ TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulation กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด 

    ร่วมกับการออกกำลังกายและการยืดกล้ามเนื้อเฉพาะบุคคล เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและคงสภาพการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่ในกรณีที่มีอาการปวดมากและมีอาการอักเสบมากจนไม่สามารถรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างเดียวได้ แพทย์อาจพิจารณาในเรื่องของการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อช่วยลดปวดลดการอักเสบก่อน แล้วทำกายภาพควบคู่ไปด้วยเพื่อรักษาและซ่อมแซมตัวเส้นเอ็นกล้ามเนื้อไหล่ที่ยังอักเสบอยู่ 

 

ภาพแสดงการฉีดยาโดยใช่เครื่องอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยนำวิถีการฉีดยาบริเวณเส้นเอ็นข้อไหล่

ภาพแสดงการฉีดยาโดยใช่เครื่องอัลตราซาวน์เพื่อการวินิจฉัยนำวิถีการฉีดยาบริเวณเส้นเอ็นข้อไหล่

 

    ในบางกรณีหากรักษาทางกายภาพหลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้นเท่าที่ต้องการหรือต้องการผลการรักษาที่ดีที่สุด แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธี Prolotherapy ซึ่งเป็นวิธีการรักษาอาการปวดเรื้อรังของข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ และเส้นประสาท โดยใช้สารละลายที่มีความเข้มข้นสูง เช่น กลูโคส ซึ่งมีคุณสมบัติระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อฉีดเข้าไปที่บริเวณจุดที่อักเสบเรื้อรัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ จึงจะเกิดการซ่อมแซมใหม่ในระดับโมเลกุลอีกครั้ง เป็นการเติมพลังงานให้เซลล์ เลือดดีเข้ามาและนำของเสียออกไป เกิดการซ่อมแซมอย่างสมบูรณ์ ลดการอักเสบและลดปวดได้ แต่หากคนไข้ต้องการผลการรักษาที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยวิธีฉีด PRP (Platelet Rich Plasma) หรือการฉีดเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง โดยใช้เลือดของคนไข้เองมาปั่นเพื่อแยกชั้นพลาสม่าและเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูง แล้วนำเกล็ดเลือดความเข้มข้นสูงที่ได้ฉีดกลับเข้าไปบริเวณที่มีการอักเสบ โดยเกล็ดเลือดจะไปกระตุ้นเม็ดเลือดขาวและเซลล์ต่างๆให้เกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อบริเวณบาดเจ็บหรืออักเสบ สาร growth hormone ที่หลั่งออกมาจะกระตุ้นกระบวนการสมานแผล กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจน กระตุ้นกระบวนการเติบโตและการแบ่งเซลล์ กล่าวคือ กระบวนการซ่อมแซมต่างๆภายในร่างกายจะเร็วมากขึ้น ทำให้ช่วยลดอาการบาดเจ็บและการอักเสบได้อย่างรวดเร็ว โดยทางคลินิกใช้เครื่อง Ultrasound นำวิถีในการฉีดยา เพื่อความตรงจุด แม่นยำ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด


อาการปวดไหล่เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยส่วนมากมักเกิดจากพฤติกรรมที่อาจจะทำโดยไม่รู้ตัว เช่น การสะพายกระเป๋าที่หนักเป็นประจำ การเอื้อมมือหยิบของ หรือการออกกำลังกายที่ผิดวิธี หากมีอาการปวดไหล่ แนะนำพักการใช้งานในท่าทางที่กระตุ้นอาการปวด โดยสามารถประคบอุ่นหรือเย็นได้ ดังนี้
1. ประคบอุ่นโดยใช้แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เมื่อมีอาการปวดตึง หรือปวดเมื่อย
2. ประคบเย็น เมื่อมีอาการปวด ร่วมกับอาการบวม แดงและร้อน หรือพึ่งได้รับบาดเจ็บมาภายใน 24 - 48 ชั่วโมงแรกและรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา เพื่อป้องกันอาการปวดเรื้อรัง