กลุ่มอาการปวดหลังประเภทต่างๆ
1.กลุ่มอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อ
ปวดหลังจากกล้ามเนื้อ Quadratus Lumborum หรือ เรียกว่ากล้ามเนื้อ QL
สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ขับรถนานๆ แล้วชอบมีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดบริเวณเอวลึกๆข้างใน และเมื่อไปนวด หรือกดโดนจุดเล็กๆแล้วจะรู้สึกสบายแต่เมื่อกลับไปทำงานต่ออาการก็กลับมาอีก!!!
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%871.jpg)
กล้ามเนื้อ QL วางตัวอยู่บริเวณหลังส่วนล่าง โดยเกาะระหว่างซี่โครงและกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน ดังรูป
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%872.jpg)
โดยกล้ามเนื้อ QL ทำหน้าที่ในการยักสะโพก , เอียงตัว , แอ่นหลัง และยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อกระดูกสันหลังระดับเอว อีกด้วย แต่เมื่อกล้ามเนื้อ QL ทำงานติดต่อกันทำให้เกิดการเกร็งค้าง และทำให้มีอาการปวดได้เช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมที่มักทำให้กล้ามเนื้อ QL มีอาการตึงคือ
- ยืนแอ่นหลัง และก้นงอน ทำให้กล้ามเนื้อ QL ต้องทำงานตลอดเวลา (Anterior pelvic tilt)
- ชอบยืนหรือนั่งเอียงตัว นั่งชันเข่า นั่งพับเพียบข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อ QL ข้างนั้นๆจะทำงานอยู่ฝั่งเดียว
- ชอบนอนหมอนสูงและอยู่ในท่านอนตะแคงตลอดคืน จะทำให้เอวด้านบนหดงอเข้าหากันอยู่ตลอด กล้ามเนื้อ QL จึงหดตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อตึงมากๆจึงทำให้มีอาการปวดได้
- กล้ามเนื้อก้นบริเวณข้างสะโพกอ่อนแรง (หรือกล้ามเนื้อ Gluteus medius) ปกติกล้ามเนื้อ Gluteus medius ทำหน้าที่คุมระดับเชิงกรานให้สมดุล แต่เมื่ออ่อนแรง กล้ามเนื้อ QL จึงต้องออกแรงช่วย จึงทำให้ตึงและปวดได้
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%873.jpg)
วิธีการรักษาเมื่อมีปวดหรือตึงกล้ามเนื้อ QL
1. Dry needling หรือการฝังเข็ม
เพื่อคลายจุดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Myofascial trigger point โดยใช้เข็มสะกิดเพื่อให้เกิดการคลายตัวของ Trigger point อาการปวดก็จะหายไป โดยอาการปวดเมื่อมี Trigger point อาจมี refer pain ไปตามสะโพกได้ ดังรูป
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%874.jpg)
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%875.jpg)
2. การฉีดยา หรือ Prolotherapy injection
คือการฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%876.jpg)
การทำกายภาพบำบัด
1. Ultrasound therapy
ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เเละข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%877.jpg)
2. High Power Laser therapy
เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%878.jpg)
2.กลุ่มอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลัง
2.1 โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated disc)
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะกระดูกสันหลังบริเวณนี้รับน้ำหนักมาก และมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ ทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท โดยจะมีอาการปวดหลังช่วงเอวต่อกับสะโพก ร่วมกับปวดร้าวลงขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมของขาหรือปลายเท้าร่วมด้วยได้
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%879.jpg)
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
1.การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ
2.น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
3.นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
4.อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8710.jpg)
อาการอาจแสดงออกได้ทั้งบริเวณหลังและขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่ามีเพียงอาการปวดหลังอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วอาการที่ขานั้นสำคัญและจำเพาะเจาะจงกับโรคนี้มากกว่า นั่นแสดงถึงว่าเกิดการรบกวนของเส้นประสาทสันหลังที่วิ่งไปเลี้ยงบริเวณขาแล้ว หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามักทำให้เกิดอาการแบบฉับพลัน เพราะมีการอักเสบที่รุนแรง
- อาการปวดหลังส่วนล่าง : มักจะปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง โดยมีอาการที่บริเวณหลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการในลักษณะของท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
- อาการขาชา : อาการเด่นชัดที่มักแสดงที่บริเวณขา มีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด อาการชา หรือ อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8711.jpg)
2.2 โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
เป็นอาการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ ส่งผลให้กระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่นและติดแข็งมากขึ้น พบได้มากที่สุดคือบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอและบั้นเอว กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วโรคนี้พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่านั้นมากขึ้น หากความสามารถในการเคลื่อนไหวเริ่มผิดปกติหรือมีปัญหา มือ แขน เท้า และขามีอาการชาและอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาและช่วยป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่ม
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8712.jpg)
อาการของกระดูก ของกระดูกสันหลังเสื่อมมีดังนี้
- ปวดบั้นเอว
- กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
- มือ แขน เท้า หรือขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีอาการชา อ่อนแรง หรือ เป็นเหน็บ
- ปวดศีรษะในบางครั้ง
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ค่อยอยู่
- ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้เดินลำบาก เดินแล้วไม่สมดุล ไม่มั่นคงเหมือนจะหกล้ม โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8713.jpg)
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
คือการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากการที่กระดูกสันหลังโค้งงอเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง และเสียความยืดหยุ่นไป ยกตัวอย่างเช่น การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม พอลุกจากเก้าอี้กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันทีจึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งมักพบทั่วไปในผู้สูงอายุ
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8714.jpg)
ที่รีแฮปแคร์คลินิกใช้เครื่องมือกายภาพลดปวดที่มีเทคโนโลยีล่าสุดและทันสมัย มีมาตรฐานสูง นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี อังกฤษ เป็นต้น
1.คลื่นกระแทก (Focus Shockwave) : เป็นการส่งพลังงานผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดการอักเสบและลดปวด อีกทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและรักษาอาการปวดเรื้อรัง
2.เลเซอร์พลังงานสูง (High power laser therapy) : ช่วยในการเติมพลังงานให้เซลล์ กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย ทำให้การอักเสบลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากปลายประสาท เช่น ชา แสบร้อน และช่วยอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
3.เครื่องอัตราซาวด์ความร้อนลึก (Ultrasound therapy) : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
4.เครื่องดึงคอหรือดึงหลัง(Traction) : เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอหรือหลัง โดยมีการคำนวณความหนักของแรงดึงตามน้ำหนักตัวและตั้งระยะเวลาที่ใช้ในการดึง-ปล่อยอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
5.เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) : เป็นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนังเพื่อช่วยในการลดปวด
6.การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise) และการออกกำลังกายในน้ำ(Hydrotherapy) เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายและฟื้นฟูให้แข็งแรง ไม่กลับมาปวดซ้ำ
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8715.jpg)
![''](/sites/default/files/inline-images/%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%8716.jpg)
การป้องกันอาการปวดหลัง สิ่งที่สำคัญคือการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และยืดเหยียดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อสะโพก ระมัดระวังท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น การก้มหลัง การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการยกของหนักเป็นประจำ โดยหากมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึง สามารถประคบอุ่นด้วยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า ช่วยลดอาการปวดได้ แต่หากมีอาการปวดในระดับที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม