อาการปวดคอบ่า หรือ ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร
- นั่งในท่าเดิมนานๆ เช่น นั่งหน้าคอม นั่งขับรถ เป็นต้น
- อยู่ในท่าก้มๆ เงยๆ บ่อยหรือเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือ
โดยที่ถ้าที่เราอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน กล้ามเนื้อเราก็จะทำงานไม่สมดุลกัน ทำให้ลักษณะโครงสร้างร่างกายของเราเกิดการปรับตัวในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยจะมีลักษณะ ดังนี้
- ศีรษะและคอยื่นไปทางด้านหน้า
- กระดูกสันหลังส่วนคอแอ่นมากกว่าปกติ
- ไหล่ห่อหรืองุ้มไปทางด้านหน้า
- บ่ายกขึ้น
- กระดูกสันหลังส่วนอกมีลักษณะโค้งมากกว่าปกติ
- สะบักเคลื่อนตัวไปทางด้านหน้า และขอบสะบักด้านหลังนูนออกมาอย่างเห็นได้ชัด
ส่งผลให้มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก / ปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือปวดร้าวลงแขนได้
นอกจากออฟฟิศซินโดรมแล้วอาการปวดคอบ่าเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้อีกบ้าง
- โรคกระดูกคอเสื่อม
- โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)
หากปล่อยให้อาการปวดคอบ่าเรื้อรังจะเกิดอะไรขึ้น
- รักษาได้ยากและใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น
- รบกวนการทำงานหรือการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลง
- มีโอกาสพัฒนาไปเป็นโรคอื่นที่รุนแรงมากขึ้น เช่น โรคกระดูกคอเสื่อม , หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น
แนวทางการรักษา อาการปวดคอบ่าเรื้อรัง (ออฟฟิศซินโดรม) ที่ REHAB Care Clinic
การรักษาที่รีแฮปแคร์คลินิกมีการวางแผนการรักษาร่วมกันโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดมืออาชีพเพื่อให้ทุกคนได้รับการรักษาที่ครบถ้วนและเหมาะสมมากที่สุด โดยโปรแกรมการรักษาอาการปวดคอบ่าเรื้อรัง (ออฟฟิศซินโดรม) มีดังนี้
- การรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
1) การฝังเข็ม
ความแตกต่าง | รูปแบบการฝังเข็มแบบตะวันตก(Dry Needling) | รูปแบบการฝังเข็มจีน(Acupuncture) |
---|---|---|
วัตถุประสงค์ | เพื่อลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ วิธีการฝังจึงจะฝังลงไปในจุดที่เป็นจุดปวดซึ่งจะช่วยคลายกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นๆ | เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของระบบโลหิตและพลังงานเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทแบบองค์รวม |
ระยะเวลาของการฝัง | ฝั่งเข็มเฉพาะจุดที่พบปมกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยจะฝั่งจุดละไม่เกิน 3-5 นาที | ฝังและค้างไว้ประมาณ15-30นาที ร่วมกับการใช้กระแสไฟฟ้า |
ต้นกำเนิด | การฝังแบบตะวันตกเป็นการแพทย์สมัยใหม่ และถูกค้นพบขึ้นในช่วงปี1980 | มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนและเป็นแพทย์แผนจีนโบราณเก่าแก่เป็นพันๆปี |
2) ฉีดโพรโลเทอราพีโดยใช้อัลตราซาวด์นำวิถี (US guided injection with Prolotherapy)
เป็นการฉีดกลูโคสเข้าไปที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด บริเวณที่ปวดหรือมีการอักเสบเรื้อรัง วัตถุประสงค์เพื่อ
- กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซม เร่งกระบวนการรักษาและฟื้นฟูตามธรรมชาติ
- เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับจากประเทศสหรัฐอเมริกามานานกว่า 100 ปี พร้อมมีผลวิจัยรับรองผลการรักษา
- ไม่มียาสเตียรอยด์ จึงมีความปลอดภัยสูง
- รีแฮปแคร์คลินิกมีการใช้เครื่องอัลตราซาวด์วินิจฉัยในการนำวิถีฉีดยาทุกครั้ง เพื่อให้ตรงจุดที่มีความผิดปกติ จึงมีประสิทธิภาพ และมีความแม่นยำสูง ลดความเสี่ยงของการฉีดไปโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาท จึงมีความปลอดภัยสูงมาก
- การรักษาทางกายภาพบำบัด
ที่รีแฮปแคร์คลินิกใช้เครื่องมือกายภาพลดปวดที่มีเทคโนโลยีล่าสุดและทันสมัย มีมาตรฐานสูง นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี อังกฤษ เป็นต้น
- 1.คลื่นกระแทก (Focus Shockwave) : เป็นการส่งพลังงานผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดการอักเสบและลดปวด อีกทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและรักษาอาการปวดเรื้อรัง
- 2.เลเซอร์พลังงานสูง (High power laser therapy) : ช่วยในการเติมพลังงานให้เซลล์ กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย ทำให้การอักเสบลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากปลายประสาท เช่น ชา แสบร้อน และช่วยอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- 3.เครื่องอัตราซาวด์ความร้อนลึก (Ultrasound therapy) : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
- 4.เครื่องดึงคอหรือดึงหลัง(Traction) : เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอหรือหลัง โดยมีการคำนวณความหนักของแรงดึงตามน้ำหนักตัวและตั้งระยะเวลาที่ใช้ในการดึง-ปล่อยอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
- 5.เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) : เป็นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนังเพื่อช่วยในการลดปวด
- 6.การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise) และการออกกำลังกายในน้ำ(Hydrotherapy) เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายและฟื้นฟูให้แข็งแรง ไม่กลับมาปวดซ้ำ
หากใครมีอาการปวดในระยะแรก สามารถดูแลตนเองได้โดยการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถอ่านได้จากบทความสุขภาพในหน้าเว็บไซต์ รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการทำงาน ท่าทางการนั่งทำงาน และการประคบอุ่นจะช่วยรักษาอาการปวดตึง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพราะความร้อนช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น กล้ามเนื้อคลายตัวและมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อาการเมื่อยล้าและอาการปวดลดลง โดยใช้เจลประคบอุ่น ถุงน้ำร้อน หรือ แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นต้น แต่หากปฏิบัติแล้วยังมีอาการปวดแนะนำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมและป้องกันการเกิดภาวะเรื้อรัง