Skip to main content

การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy)

การรักษาทางกายภาพบำบัด

 

ทำไมต้องเลือก Rehab Care Clinic

  • คลินิกของเราเป็นคลินิกที่เชี่ยวชาญในด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ
  • ใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดต่างๆ ที่ทันสมัยที่สุด
  • นักกายภาพบำบัดวิชาชีพของทางคลินิกนั้นเป็นนักกายภาพบำบัดที่เชี่ยวชาญในด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ
  • จะทำการซักประวัติอาการเจ็บปวดอย่างละเอียดรวมถึงประวัติทางการรักษาอื่นๆ ในอดีต ร่วมกับข้อมูลการตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดโดยเฉพาะ เพื่อประกอบการวินิจฉัยยืนยันโรคและให้การรักษาทางกายภาพบำบัด ถ้าหากจำเป็นนักกายภาพบำบัดอาจจะใช้ผลการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และการศึกษาภาพถ่ายจากรังสี (X-rays และ MRI) ประกอบการวินิจฉัยยืนยันโรคและให้การรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยเช่นกัน

 

การรักษาทางกายภาพบำบัดของ Rehab Care Clinic

 

การรักษาทางกายภาพบำบัดนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาและตัวโรคของผู้เข้ารับการรักษา ซึ่งมีวิธีการรักษาทางหลากหลาย โดยการรักษาทางกายภาพบำบัดของ Rehab Care Clinic นั้นจะเน้นให้การรักษาโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพต่างๆที่ทันสมัย ได้แก่

  • คลื่นกระแทกแบบโฟกัส (Focus shockwave)
  • เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High Power Laser),
  • การใช้คลื่นเสียงหรือคลื่นความร้อนลึก (Ultrasound)
  • เครื่องดึงคอและดึงหลัง (Traction)
  • การใช้กระแสไฟฟ้า (Electrical Stimulation)

ทักษะการรักษาเฉพาะด้วยมือของนักกายภาพบำบัด (Manual therapy) เช่น

  • การขยับข้อต่อ (Mobilization)
  • การยืดกล้ามเนื้อ (Stretching)
  • การกดจุด(Massage หรือ Deep friction) ร่วมกับการออกแบบการออกกำลังกายและยืดกล้ามเนื้อเฉพาะบุคคล (Individual Exercise) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อของผู้เข้ารับการรักษา

โดยทางคลินิกได้เลือกใช้วิธีการต่างๆและเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีสูงสุดเพื่อให้ผู้เข้ารับการรักษาได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

นักกายภาพบำบัดวิชาชีพ

 

วันนี้ทางเราจะพามารู้จักกันค่ะว่าในทางกายภาพบำบัดนั้นสามารถรักษาโรคหรืออาการอะไรได้บ้าง เราจะยกตัวอย่างโรคยอดฮิตมาให้ดูกันค่ะ

 

ปวดหลัง

 

1. ปวดหลัง (Back Pain)

อาการส่วนใหญ่มักเกิดจากการนั่งทำงานหรือกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำกัน อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณเอวเคล็ดหรือฉีกขาดฉับพลัน หรือเกิดจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อมและกดทับเส้นประสาท หรือมีอาการจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ทางกายภาพบำบัดสามารถช่วยรักษาหรือบรรเทาอาการได้

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • นั่งทำงานในท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆ
  • ขับรถนานหรือระยะทางไกลๆ
  • มีอาการปวดหลังขณะยกของหนักหรือล้มก้นกระแทก
  • ก้มตัว แอ่นหลัง หรือบิดลำตัวแล้วมีอาการปวด
  • ปวดหลังร้าวลงขา มีหรือไม่มีอาการชา
  • ปวดหลังเมื่อต้องเดินนานๆ

 

ปวดไหล่

 

2. ปวดไหล่/ไหล่ติด (Shoulder Pain/Frozen Shoulder) 

อาการส่วนใหญ่มักเกิดจากการทำงานและกิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งการใช้งานซ้ำๆ ก่อให้เกิดการเสียดสีและอักเสบ ของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณรอบข้อไหล่ ในผู้สูงอายุมักมีอาการเสื่อมจากการใช้งานมากไป

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • กางหรือยกแขนได้ไม่สุด ใช้มือเอื้อมหยิบของจากที่สูงลำบาก
  • เล่นกีฬา ออกกำลังกายในท่าที่ต้องใช้แขนและไหล่ลำบาก
  • ปวดไหล่ตอนกลางคืนขณะพลิกตัวเอียงตัว
  • หยิบของจากด้านหลังไม่ได้ มือไขว้หลังไม่ได้

 

ปวดเข่า

 

3.ปวดเข่า (Knee Pain) 

อาการปวดเข่าเกิดขึ้นได้ด้วยหลากหลายสาเหตุ ในผู้สูงอายุ มักเกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมจากการใช้งานยาวนานจนผิวข้อกร่อน เข่าผิดรูป โก่งงอ อีกสาเหตุหนึ่งอาจเกิดจากแรงกระทำที่มากเกินไปกับข้อเข่า เช่น การเล่นกีฬา หรือเคยรับอุบัติเหตุที่เข่าและในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก สามารถทำให้เกิดอาการปวดเข่าได้เช่นกัน

ปวดเข่าหลังจากเล่นกีฬา

การออกกำลังกายเนื่องจากต้องใช้ข้อเข่ารับน้ำหนักมาก เช่น นักวิ่ง นักปั่นจักรยาน,นักฟุตบอล,นักบาส  โดยอาการปวดจะมีลักษณะดังนี้

  • ปวดเสียวแปลบที่เข่าบริเวณด้านในหรือด้านนอกเหนือหรือใต้ลูกสะบัก
  • ปวดขัดชัดเจนหลังจากเล่นกีฬา หรือออกกำลังกาย
  • ปวดเข่าจากการทำงาน
  • ทำงานในท่าเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน
     
ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก (Office Syndrome)

 

4.ปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง สะบัก (Office Syndrome)

เป็นอาการที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและเยื่อพังผืด ซึ่งเกิดจากการทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานทำให้มีจุดกดเจ็บ (Trigger point) ในเนื้อเยื่อ โดยจุดกดเจ็บนี้สามารถทำให้เกิดอาการปวดและตึงได้

พฤติกรรมและภาวะเสี่ยง

  • ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นานติดต่อกันเกิน 6 ชั่วโมง/วัน
  • นั่งทำงานในท่าทางซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น ระดับความสูงของโต๊ะ หรือลักษณะของเก้าอี้ที่นั่งทำงาน
  • ท่าทางในการทำงาน เช่น ท่านั่งหลังค่อม ก้มหรือเงยหน้ามากจนเกินไป

และโรคต่างๆที่เราได้นำมาให้อ่านกันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัดเท่านั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ทางกายภาพบำบัดสามารถรักษาได้ ถ้าทุกท่านมีอาการหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้นคล้ายๆกับที่เราเสนอไปนั้นสามารถสอบถามหรือเข้ามาทำการรักษากับเราได้ทุกเมื่อเลยค่ะ 

วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด

Shockwave therapy

 

1.Shockwave therapy

เครื่องมือที่ใช้การส่งผ่านคลื่นกระแทก หรือ Shockwave เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บใหม่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และกระตุ้นให้หลั่งสารลดปวด จึงทำให้อาการปวดลดลง

 

2. High power laser

 

2. High power laser

เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการรักษาอาการปวดจากโรคระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ สามารถรักษาอาการปวดระบม อักเสบเฉียบพลัน ยังสามารถรักษาอาการ ชา อาการดีขึ้นในทันที เมื่อรักษาโดยเครื่องเลเซอร์กำลังสูง (High power Laser)

 

3.Ultrasound therapy

 

3.Ultrasound therapy

เป็นเครื่องรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ที่ให้ผลความร้อนในลักษณะความร้อนลึกโดยปล่อยความร้อนลึกออกมาใต้ผิวหนังที่ 2-5 cm.

 

4.การกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง หรือ TENS

 

4.การกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านทางผิวหนัง หรือ TENS

เป็นการติดแผ่นกระตุ้นไฟลงบนกล้ามเนื้อที่มีปัญหาเพื่อให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อลดอาการปวด

 

5.เครื่องดึงหลัง/ดึงคอ (Traction)

 

5.เครื่องดึงหลัง/ดึงคอ (Traction)

การดึงเป็นการใช้แรงกระทำกับร่างกายในทิศทางแยกผิวข้อต่อออกจากกันช่วยคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ และลดอาการปวดจากแรงกดที่กระดูกสันหลังลดลง

การประคบร้อน/เย็น (Hot&Cold Pack)

6. การประคบร้อน/เย็น (Hot&Cold Pack)

  • ใช้ความร้อนในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น ช่วยลดอาการบาดเจ็บ ปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ และช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อให้ผ่อนคลายได้ดียิ่งขึ้น
  • ใช้ความเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวดบวมที่เกิดจากอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน เพราะความเย็น จะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว และเลือดออกน้อยลง

 

7.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual therapy)

 

7.เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual therapy)

ประกอบไปด้วยการ นวด(Massage) โดยออกแรงกดลงไปตามร่างกาย จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการเจ็บปวด การดัดดึงข้อต่อ (Mobilization) ในกรณีที่มีการติดรั้งของข้อต่อ เช่น ข้อไหล่ติด ข้อเข่าติด นิ้วล็อค

 

8.สอนออกกำลังกายเฉพาะบุคคลเพื่อการบำบัดลดอาการปวด

 

8.สอนออกกำลังกายเฉพาะบุคคลเพื่อการบำบัดลดอาการปวด

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise) คือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนของร่างกายเพื่อการบำบัดรักษา ลดอาการของผู้ป่วย หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น