Skip to main content

ปวดข้อศอก

3 อันดับการบาดเจ็บที่พบบ่อยในนักกีฬากอล์ฟ
Posted: September 23, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

แม้ว่ากีฬากอล์ฟจะเป็นกีฬาที่ใช้พละกำลังน้อย ไม่ต้องใช้ความเร็วในการเล่น และไม่มีการปะทะกัน แต่วงสวิงของกอล์ฟจะต้องใช้การเคลื่อนไหวหลายส่วน ทั้งลำตัว เอว ไหล่และแขน และยังมีแรงกระชากแรงบิดภายในเสี้ยววินาที ดังนั้นหากมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง ขาดการวอร์มและยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เหมาะสม หรือเล่นผิดวิธี ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมาได้

การบาดเจ็บในนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพมักเกิดจากการทำในท่าเดิมซ้ำๆ หรือการฝึกที่เยอะเกินไป แต่ในนักกีฬากอล์ฟมือสมัครเล่นมักเกิดจากสภาพร่างกายที่ไม่พร้อม ขาดความยืดหยุ่น ขาดการเตรียมพร้อมหรือวอร์มร่างกาย เทคนิคหรือวงสวิงที่ผิดวิธี ท่าทางในการตี รวมไปถึงพื้นผิวที่ตีด้วย ซึ่ง 3 ลำดับการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพและมือสมัครเล่นมีดังนี้ สำหรับนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ คือ หลังส่วนล่าง ข้อมือ และหัวไหล่ ส่วนนักกีฬากอล์ฟมือสมัครเล่น คือ หลังส่วนล่าง ข้อศอก และข้อมือ


1. หลังล่าง (Low back pain) เป็นบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุด เพราะกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีบทบาทสำคัญในการเหวี่ยงไม้กอล์ฟ ซึ่งการเหวี่ยงที่ เรียกว่า “Classic Swing” จะค่อนข้างเป็นวงแนวระนาบ (relatively flat swing) และจบวงสวิงในท่าหลังตรง (I position) ส่วนการเหวี่ยง ที่เรียกว่า “Modern Swing” มีการหมุนไหล่กว้าง จำกัดการหมุนของข้อสะโพกในจังหวะเงื้อไม้ (back swing) และจบวงสวิงในท่าแอ่นหลัง (reverse C) ทำให้มีแรงบิด (torque) ต่อหลังและไหล่มากขึ้น จึงทำให้การเหวี่ยงแบบ Modern Swing มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อหลังส่วนล่างมากกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิด กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกปลิ้น กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนได้

2.หัวไหล่ (Shoulder pain) เป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพราะข้อไหล่มีการทำงานที่ซับซ้อน และวงสวิงของกีฬากอล์ฟต้องใช้องศาการเคลื่อนไหวที่กว้าง ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อไหล่ และข้อไหล่ถูกยืด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการกดเบียดภายในข้อไหล่ หรือเอ็นข้อไหล่ฉีกได้

3. ข้อศอก (Elbow tendinosis) เนื่องจากมีแรงกระแทกขณะที่ไม้กอล์ฟกระทบกับลูกกอล์ฟ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อศอกเกิดแรงตึงจนเกิดการบาดเจ็บและอักเสบได้ มักเกิดกับนักกอล์ฟมืออาชีพ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ golfer elbow และ tennis elbow

หากเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ หลังบาดเจ็บทันทีแนะนำให้พักและประคบเย็น หากไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยา การกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ เช่น Focus shockwave และ high power laser เพื่อลดปวดและเร่งกระบวนการซ่อมแซม จนไปถึงการฉีดยา เช่น การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP ซึ่งเหมาะกับคนที่เป็นมานานเรื้อรัง จะช่วยลดการอักเสบและเร่งกระบวนการฟื้นฟูให้เร็วขึ้น โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ใครบาดเจ็บไม่ควรปล่อยไว้ ยิ่งปล่อยไว้นานจะยิ่งรักษายาก

กภ. พัชรพร (พิงค์กี้)
Reference
https://simonmoyes.com/magazine/sports-medicine/the-common-golf-injuries/
https://www.rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-180.pdf.
https://www.thaiscience.info/journals/Article/SRMJ/10823954.pdf.
https://www.professionalevents.co.uk/_images/_products2downloads/109_317.pdf

7 ท่าออกกำลังพิชิตอาการปวดศอกด้านนอก
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

บรรดาแม่ครัวเวลาสับอาหาร แม่บ้านเวลากวาดบ้านโดยใช้หลังมือ หรือบิดผ้า บรรดามือกลอง หรือผู้ที่ต้องเกร็งข้อมือหรือใช้งานข้อมืออย่างหนัก เช่นคนที่พิมพ์งานหน้าจอคอมฯเป็นประจำ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องจดแลกเชอร์อาจารย์เคยสังเกตไหมว่าทำไมถึงชอบมีอาการปวดข้อศอกด้านนอกด้วย???

อาการปวดข้อศอกด้านนอก โรคนี้ถูกเรียกว่า Tennis elbow เป็นโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้นเกิดการอักเสบ จากการใช้งานซ้ำๆ มากเกินไปนั่นเอง 

Tennis elbow

วันนี้แอดมินขอนำเสนอวิธีการดูแลและรักษาอาการเบื้องต้น 

- หากเพิ่งเริ่มมีอาการปวดหลังทำกิจกรรม ให้หยุดการทำกิจกรรมนั้น และใช้ Cold pack หรือ น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ปวด 10 นาที ทุกๆ 1 ชั่วโมง และให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบาๆร่วมด้วย 

ช้ Cold pack หรือ น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ปวด

- หากมีอาการปวดเรื้อหรือเป็นมานาน ให้ใช้การประคบอุ่นบริเวณที่ปวด 15 นาที และยืดกล้ามเนื้อ+นวดคลึงเบาๆบริเวณที่มีอาการปวดตึง


7 ท่ายืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อศอก

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

วิธีทำ  หงายฝ่ามือและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

วิธีทำ คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

ท่าที่ 3 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° หงายฝ่ามือออก ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

ท่าที่ 4 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° คว่ำฝ่ามือลง ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลังออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

ท่าที่ 5 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขน

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ มือถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. หมุนฝ่ามือให้หงายขึ้นและคว่ำฝ่ามือลง 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขนท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขน

ท่าที่ 6  ท่าบิดผ้าขนหนู

วิธีทำ นั่งตัวตรง มือทั้ง 2 ข้างจับที่ปลายผ้าขนหนูแต่ละด้าน จากนั้นหมุนบิดผ้าขนหนู 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ท่าบิดผ้าขนหนูท่าบิดผ้าขนหนู

ท่าที่ 7 ท่ากำลูกบอล

วิธีทำ กำมือขย้ำลูกบอลค้างไว้นับ 1-5 แล้วปล่อย 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ครั้ง

ท่ากำลูกบอล

ท่าออกกำลังกายและการดูเเลเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ หากยังมีอาการปวด สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาและรักษาอาการปวดได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิก 

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare