Skip to main content

ปวดข้อศอก

3 อันดับการบาดเจ็บที่พบบ่อยในนักกีฬากอล์ฟ
Posted: September 23, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

แม้ว่ากีฬากอล์ฟจะเป็นกีฬาที่ใช้พละกำลังน้อย ไม่ต้องใช้ความเร็วในการเล่น และไม่มีการปะทะกัน แต่วงสวิงของกอล์ฟจะต้องใช้การเคลื่อนไหวหลายส่วน ทั้งลำตัว เอว ไหล่และแขน และยังมีแรงกระชากแรงบิดภายในเสี้ยววินาที ดังนั้นหากมีกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง ขาดการวอร์มและยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เหมาะสม หรือเล่นผิดวิธี ก็จะทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมาได้

การบาดเจ็บในนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพมักเกิดจากการทำในท่าเดิมซ้ำๆ หรือการฝึกที่เยอะเกินไป แต่ในนักกีฬากอล์ฟมือสมัครเล่นมักเกิดจากสภาพร่างกายที่ไม่พร้อม ขาดความยืดหยุ่น ขาดการเตรียมพร้อมหรือวอร์มร่างกาย เทคนิคหรือวงสวิงที่ผิดวิธี ท่าทางในการตี รวมไปถึงพื้นผิวที่ตีด้วย ซึ่ง 3 ลำดับการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยในนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพและมือสมัครเล่นมีดังนี้ สำหรับนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพ คือ หลังส่วนล่าง ข้อมือ และหัวไหล่ ส่วนนักกีฬากอล์ฟมือสมัครเล่น คือ หลังส่วนล่าง ข้อศอก และข้อมือ


1. หลังล่าง (Low back pain) เป็นบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุด เพราะกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีบทบาทสำคัญในการเหวี่ยงไม้กอล์ฟ ซึ่งการเหวี่ยงที่ เรียกว่า “Classic Swing” จะค่อนข้างเป็นวงแนวระนาบ (relatively flat swing) และจบวงสวิงในท่าหลังตรง (I position) ส่วนการเหวี่ยง ที่เรียกว่า “Modern Swing” มีการหมุนไหล่กว้าง จำกัดการหมุนของข้อสะโพกในจังหวะเงื้อไม้ (back swing) และจบวงสวิงในท่าแอ่นหลัง (reverse C) ทำให้มีแรงบิด (torque) ต่อหลังและไหล่มากขึ้น จึงทำให้การเหวี่ยงแบบ Modern Swing มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อหลังส่วนล่างมากกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิด กล้ามเนื้อหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกปลิ้น กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนได้

2.หัวไหล่ (Shoulder pain) เป็นบริเวณที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพราะข้อไหล่มีการทำงานที่ซับซ้อน และวงสวิงของกีฬากอล์ฟต้องใช้องศาการเคลื่อนไหวที่กว้าง ทำให้เกิดแรงกระทำต่อข้อไหล่ และข้อไหล่ถูกยืด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการกดเบียดภายในข้อไหล่ หรือเอ็นข้อไหล่ฉีกได้

3. ข้อศอก (Elbow tendinosis) เนื่องจากมีแรงกระแทกขณะที่ไม้กอล์ฟกระทบกับลูกกอล์ฟ ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อศอกเกิดแรงตึงจนเกิดการบาดเจ็บและอักเสบได้ มักเกิดกับนักกอล์ฟมืออาชีพ โรคที่พบบ่อย ได้แก่ golfer elbow และ tennis elbow

หากเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกอล์ฟ หลังบาดเจ็บทันทีแนะนำให้พักและประคบเย็น หากไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม ซึ่งการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยา การกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือ เช่น Focus shockwave และ high power laser เพื่อลดปวดและเร่งกระบวนการซ่อมแซม จนไปถึงการฉีดยา เช่น การฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น หรือ PRP ซึ่งเหมาะกับคนที่เป็นมานานเรื้อรัง จะช่วยลดการอักเสบและเร่งกระบวนการฟื้นฟูให้เร็วขึ้น โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับอาการที่เป็น ใครบาดเจ็บไม่ควรปล่อยไว้ ยิ่งปล่อยไว้นานจะยิ่งรักษายาก

กภ. พัชรพร (พิงค์กี้)
Reference
https://simonmoyes.com/magazine/sports-medicine/the-common-golf-injuries/
https://www.rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-180.pdf.
https://www.thaiscience.info/journals/Article/SRMJ/10823954.pdf.
https://www.professionalevents.co.uk/_images/_products2downloads/109_317.pdf

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

TENNIS ELBOW ปวดศอกด้านนอก อาการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับนักเทนนิส
Posted: July 14, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

หลายคนคงเคยประสบกับอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกขณะเคลื่อนไหวข้อมือโดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้น และอาจจะเจ็บมากขึ้นเมื่อออกแรงกำมือร่วมกับการกระดกข้อมือ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศที่ต้องพิมพ์งานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือจะเหล่าแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านอย่างหนัก วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคที่เรียกว่า “Tennis elbow” 

Tennis elbow คืออะไร ?? 

Tennis elbow / Lateral epicondylitis เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้น (extensor muscle group of the forearm) โดยกล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะมีจุดเกาะต้นอยู่ที่บริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle) โดยกล้ามเนื้อที่มักจะพบปัญหามากที่สุดคือ extensor carpi radialis brevis

มาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อต้นเหตุของเรากันหน่อยดีกว่า

Extensor carpi radialis brevis

Extensor carpi radialis brevis

จุดเกาะต้น : ปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle)

จุดเกาะปลาย : ฐานของกระดูก matacarpal ของนิ้วที่สาม

หน้าที่: กระดกข้อมือขึ้น (Extend and abduct wrist joint)


สาเหตุของ Tennis elbow

มักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆมากจนเกินไป(overuse) เช่น นักกีฬาเทนนิส / แบดมินตัน , การกระดกข้อมือเพื่อพิมพ์คีย์บอร์ดต่อเนื่องเป็นเวลานาน , ช่างซ่อมที่ต้องใช้เครื่องมือประเภท คีมห รือไขควง เป็นต้น หรือมีการสะบัด / ตวัดข้อมือขึ้นแรงๆ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณศอก 

สาเหตุของ Tennis elbow


อาการของ Tennis elbow

- มีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle) เมื่อขยับข้อมือ ในบางรายอาจปวดร้าวไปตามแขนจนถึงข้อมือ

- มีจุดกดเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่บริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก

- ในรายที่เพิ่งเป็นอาจพบอาการบวม แดง ร้อนที่บริเวณข้อศอก

- ในรายที่มีการอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกร่วมด้วย


วิธีการรักษา Tennis elbow

1. การรักษาโดยไม่ใช้การผ่าตัด (Non-surgical treatment)

- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อศอก แนะนำให้พักการใช้งานแขนข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 - 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้

- ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug: NSAIDs) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการปวด

ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

- Platelet Rich Plasma (PRP) คือการสกัดเอาเกล็ดเลือด โปรตีน ฮอร์โมน growth factor และเซลล์จากกระแสเลือด แล้วฉีดกลับเข้าไปยังส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ ซึ่งจะช่วยในการสมานแผลและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่บาดเจ็บ

- Prolotherapy injection คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

- Physical therapy 

Shockwave therapy

Shockwave therapy : เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา

High power laser therapy

High power laser therapy : เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซม ฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น

Ultrasound therapy

Ultrasound therapy : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ 

2. การรักษาโดยใช้การผ่าตัด (Surgical treatment) 

- หากรักษาด้วยวิธีการอื่นๆแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยภายใน 6 - 12 เดือน แพทย์อาจพิจารณาและแนะนำให้ทำการผ่าตัด


ท่าบริหารเบื้องต้นสำหรับผู้ที่เป็นโรค Tennis elbow

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors stretch)

วิธียืด : หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors stretch)

2. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensors stretch)

วิธียืด : คว่ำฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือลง เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensors stretch)

3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors strengthening)

4. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensor strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90° กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg คว่ำฝ่ามือลงพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensor strengthening)

5. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในการบิดหมุนข้อมือ (Supinator & pronator strengthening)

วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หมุนฝ่ามือหงายสลับกับคว่ำมือ ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต

ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในการบิดหมุนข้อมือ (Supinator & pronator strengthening)

6. ท่าบีบลูกบอล

วิธีทำ : กำลูกบอลค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต

ท่าบีบลูกบอล

7. ท่ากางนิ้ว 

วิธีทำ : ใช้ยางยืดหรือหนังยางสวมไว้บริเวณนิ้วแล้วกางออก ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต

ท่ากางนิ้ว

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
 

7 ท่าออกกำลังพิชิตอาการปวดศอกด้านนอก
Posted: July 12, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

บรรดาแม่ครัวเวลาสับอาหาร แม่บ้านเวลากวาดบ้านโดยใช้หลังมือ หรือบิดผ้า บรรดามือกลอง หรือผู้ที่ต้องเกร็งข้อมือหรือใช้งานข้อมืออย่างหนัก เช่นคนที่พิมพ์งานหน้าจอคอมฯเป็นประจำ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องจดแลกเชอร์อาจารย์เคยสังเกตไหมว่าทำไมถึงชอบมีอาการปวดข้อศอกด้านนอกด้วย???

อาการปวดข้อศอกด้านนอก โรคนี้ถูกเรียกว่า Tennis elbow เป็นโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้นเกิดการอักเสบ จากการใช้งานซ้ำๆ มากเกินไปนั่นเอง 

Tennis elbow

วันนี้แอดมินขอนำเสนอวิธีการดูแลและรักษาอาการเบื้องต้น 

- หากเพิ่งเริ่มมีอาการปวดหลังทำกิจกรรม ให้หยุดการทำกิจกรรมนั้น และใช้ Cold pack หรือ น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ปวด 10 นาที ทุกๆ 1 ชั่วโมง และให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบาๆร่วมด้วย 

ช้ Cold pack หรือ น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ปวด

- หากมีอาการปวดเรื้อหรือเป็นมานาน ให้ใช้การประคบอุ่นบริเวณที่ปวด 15 นาที และยืดกล้ามเนื้อ+นวดคลึงเบาๆบริเวณที่มีอาการปวดตึง


7 ท่ายืดกล้ามเนื้อและออกกำลังกายกล้ามเนื้อข้อศอก

ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

วิธีทำ  หงายฝ่ามือและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

วิธีทำ คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

ท่าที่ 3 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° หงายฝ่ามือออก ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้าออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า

ท่าที่ 4 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° คว่ำฝ่ามือลง ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลังออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง

ท่าที่ 5 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขน

วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ มือถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. หมุนฝ่ามือให้หงายขึ้นและคว่ำฝ่ามือลง 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขนท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขน

ท่าที่ 6  ท่าบิดผ้าขนหนู

วิธีทำ นั่งตัวตรง มือทั้ง 2 ข้างจับที่ปลายผ้าขนหนูแต่ละด้าน จากนั้นหมุนบิดผ้าขนหนู 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ

ท่าบิดผ้าขนหนูท่าบิดผ้าขนหนู

ท่าที่ 7 ท่ากำลูกบอล

วิธีทำ กำมือขย้ำลูกบอลค้างไว้นับ 1-5 แล้วปล่อย 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ครั้ง

ท่ากำลูกบอล

ท่าออกกำลังกายและการดูเเลเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ หากยังมีอาการปวด สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาและรักษาอาการปวดได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิก 

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare