Skip to main content

ปวดง่ามขา

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

อาการปวดร้าวลงขา จากต้นขาด้านหลัง
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

หลายๆคนที่ชอบออกกำลังกายอาจกำลังประสบปัญหาปวดต้นขาด้านหลัง หรือปวดบริเวณใต้ก้นและร้าวลงขา เรามาทำความรู้จักกับกลุ่มกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บกันเถอะ!!!!

กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขา

กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 มัด ที่เรียกว่า กล้ามเนื้อ Hamstrings ได้แก่ กล้ามเนื้อ Semitendinosus , Semimembranosus และ Biceps femoris กล้ามเนื้อเหล่านี้ทอดอยู่ระหว่างข้อสะโพกและข้อเข่า โดยจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้ออยู่ที่ ischial tuberosity กล้ามเนื้อ Hamstrings ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเดิน


จุดเกาะของกล้ามเนื้อ Semitendinosus

Tip : ได้ชื่อแบบนี้เนื่องจากมันมีลักษณะกึ่งเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) กึ่งกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อ Semitendinosus

จุดเกาะต้น : Ischial tuberosity

จุดเกาะปลาย : ปลายด้านหลังของ medial tibial condyle

หน้าที่ : งอเข่าและหมุนขาเข้าใน ช่วยเหยียดสะโพก

(Function: Hip extension, knee flexion, medial rotation of knee in knee flexion)


จุดเกาะกล้ามเนื้อ Semimembranosus

วางตัวอยู่ลึกกว่ากล้ามเนื้อ Semitendinosus มีลักษณะกึ่ง membrane กึ่งกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อ Semimembranosus

จุดเกาะต้น : Ischial tuberosity

จุดเกาะปลาย : Posteromedial ของ tibial condyle

หน้าที่ : งอเข่าและหมุนขาเข้าใน และช่วยเหยียดข้อสะโพก

(Function: Hip extension, knee flexion, medial rotation of knee in knee flexion)


จุดเกาะกล้ามเนื้อ Biceps femoris

ชื่อของกล้ามเนื้อ Biceps femoris บ่งบอกว่าเป็นกล้ามเนื้อรูปร่างคล้ายกระสวยมี 2 หัว คือ long head  และ short head บริเวณส่วนล่างต้นขา long head จะกลายเป็น tendon

กล้ามเนื้อ Biceps femoris

จุดเกาะต้น : long head เกาะที่ขอบในของ ischial tuberosity และ sacrotuberous ligament. และ Short head เกาะจาก linea Aspera และ lateral supracondylar line of femur

จุดเกาะปลาย : Head of fibular

หน้าที่ : งอข้อเข่าและหมุนขาออกนอก , ส่วน long head ช่วยเหยียดข้อสะโพกเมื่อเท้ายันติดพื้น

(Function: Knee flexion, Hip extension, and knee external rotation when the knee is flexed)


Referred pain of Hamstrings

หากมีจุดปวด/กดเจ็บ (Trigger point) ในกล้ามเนื้อ Hamstrings อาจทำให้มีอาการปวดแผ่ร้าวไปตามร่างกาย ดังรูป

Referred pain of Hamstrings


Hamstrings strains หมายถึง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ Hamstrings  ซึ่งเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยในคนที่วิ่งหรือเตะบ่อยๆ เช่น นักกีฬาวิ่ง หรือกระโดดสูง เป็นต้น การที่กล้ามเนื้อถูกกระชากอย่างแรงอาดทำให้เกิดการฉีกขาดของส่วนเกาะต้นของกล้ามเนื้อนี้ที่ Ischial tuberosity 

นอกจากนี้อาการปวดต้นขาด้านหลังสามารถใช้ เครื่องอัลตราซาวด์ สแกนหาความผิดปกติของตำแหน่งที่ปวดเพื่อดูความผิดปกติต่างๆ เช่น การเกิดแคลเซียมที่เอ็นกล้ามเนื้อ ภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม หรือกล้ามเนื้อฉีก และยังสามารถใช้อัลตราซาวน์นำวิถีการฉีดยาได้อย่างแม่นยำ ตรงจุด และมีความปลอดภัยสูง

รูปแสดง ภาพกล้ามเนื้อ Hamstrings ที่มีการบาดเจ็บ โดยเครื่องอลตราซาวน์

รูปแสดง ภาพกล้ามเนื้อ Hamstrings ที่มีการบาดเจ็บ โดยเครื่องอลตราซาวน์ 


การรักษาทางกายภาพบำบัด

Shockwave Therapy หรือ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

เป็นคลื่นกระแทกที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีการอักเสบหรือบาดเจ็บ เกิดการกระตุ้นบริเวณที่บาดเจ็บทำให้เร่งการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ ได้ด้วยตนเอง

Shockwave Therapy หรือ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

High Power Laser therapy

เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น

High Power Laser therapy


ท่ายืดกลุ่มกล้ามเนื้อ Hamstrings

1. Lying Hamstrings stretch

วิธีทำ นอนหงาย ชันเข่าข้างที่ต้องการยืด จากนั้นใช้ยางยืดหรือผ้ายาวๆ (ผ้าขนหนู , ผ้าขาวม้า เป็นต้น) คล้องที่เท้า (Ball of foot) มือทั้ง 2 ข้าง จับปลายผ้า จากนั้นค่อยๆเหยียดขาขึ้นให้เข่าตรง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ  ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป

Lying Hamstrings stretch

2. Sitting Hamstrings stretch

วิธีทำ นั่งหลังตรง เหยียดขาข้างที่ตรงการยืด เข่าชิดพื้น ปลายเท้ากระดกขึ้น ใช้ยางยืด/ผ้ายาว คล้องปลายเท้า มือทั้ง 2 ข้าง จับปลายผ้า และออกแรงดึง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ   ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป

Sitting Hamstrings stretch

หรือ นั่งหลังตรง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืด เหยียดแขนไปทางปลายเท้าและโน้มตัวไปข้างหน้าให้นิ้วแตะปลายเท้า (การโน้มตัวให้ใช้สะโพกเป็นจุดหมุน ไม่ใช้การก้มหลัง) ดึง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ  ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป

นั่งหลังตรง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืด เหยียดแขนไปทางปลายเท้าและโน้มตัวไปข้างหน้าให้นิ้วแตะปลายเท้า

3. Foam roller

วิธีทำ วาง foam roller ไว้ที่ต้นขาด้านหลัง จากนั้นใช้น้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนโฟมขึ้น - ลง เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึง ดังรูป

Foam roller

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง 

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

 

 

ปวดขาหนีบ ทำอย่างไรดี
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อขาหนีบกันก่อนดีกว่าค่ะ กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)
เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา มี 3 มัด คือ
 - Adductor longus
 - Adductor brevis
 - Adductor magnus

 กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)



สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ

1. เกิดจากการหมุนของขาออกนอกอย่างรุนแรง ขณะที่อยู่ในท่าขากาง ทำให้เกิดการยืด หรือฉีกขาดของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ

2. มีการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ ซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle)ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

3. เกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle) ไม่ค่อยแข็งแรง แต่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps muscle) แข็งแรงมาก มันจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มนี้ไม่สมดุลกัน เกิดการดึงรั้งซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา

สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ


อาการ

- จะรู้สึกปวดเหมือนมีมีด เสียบเข้าที่ขาหนีบ

- อาจจะปวดตื้อๆ

- จะปวดมากขึ้นเมื่อให้หนีบขาต้านแรง 

- แพทย์จะตรวจพบ จุดกดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip adductor muscle) 

- บางครั้ง อาจมีอาการเหมือนข้อสะโพกติดในตอนเช้า


วิธีการรักษา

- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน

- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ

- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา Prolotherapy Injection

- การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง

>การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา 

การใช้ Therapeutic ultrasound

>การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย 


การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่มีปัญหา

1. นั่งหันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

 นั่ง หันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ

2. ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างตามภาพ แล้วค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้

3. ยืนกางขาเล็กน้อย ค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนกางขาเล็กน้อยค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา

4. นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง /รอบ ทำ 3 รอบ

นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare