Skip to main content

ปวดสะโพกร้าวลงขา

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

ปวดร้าวสะโพกลงขา รักษาได้
Posted: April 01, 2022 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

#กล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทคืออะไร #ปวดก้นไม่ใช่เรื่องเล็ก นั่งทำงานเพลินเกินไปอาจทำให้เกิดอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ปล่อยไว้อาจเรื้อรังและรุนแรงทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทได้ วันนี้มารู้จักอาการและโรคกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทกันค่ะ 

อาการกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาทมีสาเหตุมาจาก

- ชอบนั่งไขว้ห้าง หรือนั่งถ่ายน้ำหนักลงสะโพกข้างเดียว

- นั่งทำงานนานๆ (ช่วงทำงานที่บ้านแบบนี้ต้องไม่ลืมขยับตัวเปลี่ยนท่าทางกันบ้างนะคะ)

- ขับรถนานๆ

- ออกกำลังกายหนักเกินไป เช่น การวิ่ง

- ยกของหนัก/ยกผิดท่า

ส่งผลให้มีอาการดังต่อไปนี้

- ปวดก้น ปวดสะโพก

- ปวดแก้มก้น

- ปวดร่วมกับชาร้าวลงมาทางขา 

- รู้สึกร้อนวูบวาบ บริเวณก้น

การรักษาเบื้องต้น

- ทานยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาลดอักเสบ จะได้ผลดีในช่วงแรกหากเริ่มมีอาการปวดตึงกล้ามเนื้อไม่มาก สามารถทานยาเพื่อลดอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อได้ 

แต่ทำไมบางคนทานยามานาน อาการปวดก็ไม่ดีขึ้น

เพราะฤทธิ์ของยาจะช่วยบรรเทาอาการเพียงชั่วคราวเท่านั้นหากแต่กล้ามเนื้อ piriformis ที่มีปัญหายังคงมีความตึงตัวบีบรัดเส้นประสาทอยู่ อย่างต่อเนื่องอาการปวดร้าวนี้จะยังไม่หายไป

การรักษาทางกายภาพบำบัดกับเราจึงเป็นทางเลือกสำหรับการรักษาอาการปวดตึงกล้ามเนื้อเนื่องจากที่รีแฮปแคร์คลินิกใช้เครื่องมือกายภาพนำเข้าจากยุโรปด้วยเทคโนโลยีลดปวดล่าสุด 

- เครื่องช๊อกเวฟแบบโฟกัสทั้งพลังงานคลื่นกระแทกแบบดอทและแบบเส้นตรง ลงบริเวณกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว 

- เครื่องอัลตราซาวน์ความร้อนลึกลดปวด 

- เครื่องเลเซอร์พลังงานสูงเพื่อเติมพลังงานให้เซลล์และลดการอักเสบของเส้นประสาท

- พร้อมการจัดโปรแกรมออกกำลังกายและปรับโครงสร้างร่างกายเพื่อให้หายอย่างถาวรไม่กลับมาบาดเจ็บซ้ำ

รู้อย่างนี้แล้ว อย่านั่งทำงานกันเพลิน ลุกขึ้นยืดเหยียดกล้ามเนื้อกันบ้างนะค้า 
 

ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการยอดฮิตของคนชอบนั่งนาน
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2 Categories:  Comment:  0

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา หรือ อาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท 

หรือชื่อทางการแพทย์ว่า Piriformis Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากกล้ามเนื้อก้นมัดลึก เรียกว่า กล้ามเนื้อ Piriformis ตึงไปกดทับเส้นประสาท Sciatic nerve ที่ออกมาจากกระดูกสันหลังส่วนเอว แล้วทอดผ่านใต้กล้ามเนื้อมัดนี้ เพื่อส่งสัญญาณประสาทไปเลี้ยงขา จึงทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงขา บางคนอาจมีอาการชา และอ่อนแรงได้

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา หรือ อาการกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท


7 วิธีการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงด้วยตนเอง

1. ประคบอุ่นบริเวณสะโพกที่มีอาการปวด 15-20 นาที ความรู้สึกคืออุ่นสบาย

2. นั่งบนเก้าอี้ ยกขาข้างที่ปวดขึ้นตามภาพ ถ้ายังไม่รู้สึกตึงให้ก้มตัวลงไปเรื่อยๆจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15-20 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ

นั่งบนเก้าอี้ ยกขาข้างที่ปวดขึ้นตามภาพถ้ายังไม่รู้สึกตึงให้ก้มตัวลงไปเรื่อยๆจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ

3. นอนหงายยกขาข้างที่ปวดมาไว้อีกข้าง ใช้มือจับหัวเข่าและดึงลงมาตามภาพ จนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ มืออีกข้างยกขึ้นจับหัวเตียง หัวไหล่ทั้ง 2 ข้างแนบกับพื้น ยืดค้างไว้ 15-20 วินทาที ทำซ้ำ 5 รอบ

นอนหงายยกขาข้างที่ปวดมาไว้อีกข้าง
ใช้มือจับหัวเข่าและดึงลงมาตามภาพ จนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ

4. นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง ไขว้ขาข้างที่ปวดขึ้นเป็นเลข 4 ตามภาพ จากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างจับใต้เข่าข้างที่ไม่ปวดแล้วดึงขาให้ชิดอกจนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ ยืดค้างไว้ 15-20 นาที ทำซ้ำ 5 รอบ (ไม่ยกศีรษะหรือหัวไหล่ขึ้น)

นอนหงายชันเข่าทั้ง 2 ข้าง ไขว้ขาข้างที่ปวดขึ้นเป็นเลข 4
จากนั้นใช้มือทั้ง 2 ข้างจับใต้เข่าข้างที่ไม่ปวดแล้วดึงขาให้ชิดอกจนรู้สึกตึงที่ก้นแต่ไม่เจ็บ

5. ยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางบนเก้าอี้ โต๊ะ หรือเตียง ตามภาพถ้ายังไม่รู้สึกตึงที่ก้น ให้ก้มตัวลงจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บค้างไว้ 15-20 วินาที ทำซ้ำ 5 รอบ

ยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางบนโต๊ะยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางบนเเตียงยกขาข้างที่ปวดขึ้นวางบนเก้าอี้

6. ใช้ Foam Roller วางไว้ที่ก้นข้างที่ปวด จากนั้นใช้น้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนโฟมขึ้น - ลง เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตามภาพ

ใช้ Foam Roller วางไว้ที่ก้นข้างที่ปวด จากนั้นใช้น้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนโฟมขึ้น - ลง

7. ใช้ลูกเทนนิสวางไว้ที่ก้น บริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นใชน้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนลูกเทนนิส เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึงตามภาพ

ใช้ลูกเทนนิสวางไว้ที่ก้น บริเวณที่มีอาการปวด จากนั้นใชน้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนลูกเทนนิส

***ท่าการยืดเหยียดกล้ามเนื้อข้างต้นเป็นการดูเเลเบื้องต้นที่จะช่วยบรรเทาอาการตึงของกล้ามเนื้อ หากมีอาการปวดมาก แนะนำให้มาพบนักกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดให้ทุเลาลงโดยใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดเช่น เครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เครื่องอัลตราซาวด์ก่อนค่ะ***

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare