หัวข้อวันนี้ยังอยู่กันที่เรื่องการออกกำลังกายในน้ำค่ะ หลังจากรู้ว่าการออกกำลังกายในน้ำคืออะไร ลองมาดูประโยชน์ของการออกกำลังกายในน้ำกันบ้างนะคะ
- ลดแรงกระแทกต่อข้อต่อ เช่น ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น เนื่องจากในน้ำมีแรงลอยตัว ทำให้ไม่เกิดการบาดเจ็บต่อข้อต่อ
- เสริมสร้างกำลัง และความทนทานของกล้ามเนื้อ เนื่องจากการออกกำลังกายในน้ำมีแรงต้านของน้ำ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้
- การออกกำลังกายในน้ำไม่ทำให้เกิดการล้ม
- พัฒนาการทรงตัว และความมั่นคงของลำตัว
- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ
- ทำให้เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ
- ไม่มีเหงื่อ เย็นสบาย สดชื่น
- สนุกสนาน เนื่องจากเป็นการทำกิจกรรมแบบกลุ่ม
- พัฒนาความมั่นใจให้กับตัวเอง
1. กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้
2. มีแผลเปิดที่ผิวหนัง
3. มีการติดเชื้อที่แพร่สู่ผู้อื่นได้เมื่ออยู่ในน้ำ
4. โรคระบบหัวใจและไหลเวียนเลือด ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ unstable angina
5. โรคระบบทางเดินหายใจที่มี vital capacity น้อยกว่า 1/1.5 ลิตร
6. โรคทางอายุรกรรมที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ลมชัก ความดันโลหิตสูง คือ Systolic มากกว่า 140 mmHg และ Diastolic มากกว่า 90 mmHg เป็นต้น
7. หลังจากดื่มอลกอฮอล์
1. มีอาการสับสน เกี่ยวกับเวลา บุคคล หรือสถานที่
2. ผู้ที่แก้วหูทะลุ อาจทำให้น้ำกระเด็นเข้าหูได้
3. ภาวะกลัวน้ำ
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เห็นอย่างนี้แล้วการออกกำลังกายในน้ำถือเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากจะได้สุขภาพที่ดีขึ้นแล้ว ยังเหมาะกับทุกเพศ ทุกวัยอีกด้วยค่ะ
สวัสดีค่า วันนี้มีหัวข้อที่น่าสนใจมาแนะนำค่ะ สำหรับใครที่ไม่ชอบเหงื่อเหนอะหนะจากการออกกำลังกายบนบก หรือออกกำลังกายบนบกแล้วมีอาการปวดข้อเข่า ข้อเท้า แต่อยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น การออกกำลังกายในน้ำถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากค่ะ
การออกกำลังกายในน้ำเป็นการใช้คุณสมบัติของน้ำเพื่อประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพ และการรักษาโรค โดยเป็นการออกกำลังกายแบบกลุ่ม
วารีบำบัด คือ รูปแบบหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำในการรักษา ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะออกแบบการรักษาที่มีความเฉพาะต่อปัญหาของผู้ป่วย และให้การดูแลอย่างใกล้ชิดขณะออกกำลังกายในน้ำ
การออกกำลังกายในน้ำสามารถทำได้ทั้งการเดิน การวิ่งในน้ำ การเต้นแอโรบิกในน้ำ หรือแม้กระทั่งโยคะในน้ำ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอาการปวดข้อต่อทั้งสิ้น เนื่องจากน้ำมีแรงลอยตัวช่วยพยุงน้ำหนักของเรานั่นเอง นอกจากนี้แรงต้านของน้ำยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
1. การอบอุ่นร่างกาย ควรใช้เวลา 5 นาที
2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ควรใช้เวลา 5 – 10 นาที
3. ช่วงออกกำลังกาย ควรใช้เวลา 20 – 30 นาที
4. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ควรใช้เวลา 5 – 10 นาที
วันนี้ทราบแล้วใช่มั้ยคะ ว่าการออกกำลังกายในน้ำเป็นอย่างไรและเหมาะกับใครบ้าง พรุ่งนี้ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับกับการออกกำลังกายในน้ำมาให้ติดตามกันอีกนะคะ แล้วพบกันค่า
เป็นรูปแบบหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นวิธีการใช้น้ำเป็นตัวกลางในการรักษา โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำ ช่วยพยุงรองรับทุกส่วนของร่างกาย โดยนักกายภาพบำบัดจะออกแบบโปรแกรมการรักษาที่มีความเฉพาะต่อปัญหาของผู้ป่วยแต่ละประเภท และให้การดูแลอย่างใกล้ชิดขณะออกกำลังกายในน้ำ
- ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อต่อต่างๆ โดยใช้แรงลอยตัวของน้ำ
- เพิ่มการทรงตัวให้ดีขึ้น และการเคลื่อนไหวในน้ำที่สัมพันธ์กันของร่างกาย
- ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ
- ช่วยลดความเจ็บปวด ลดอาการข้อติด ทำให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
- ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยอาศัยแรงต้านของน้ำและอุปกรณ์ที่ใช้
- ผู้ที่มีอาการปวดเข่า ปวดหลัง ปวดไหล่
- ผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม
- ผู้ที่มีปัญหาด้านการทรงตัว และการเคลื่อนไหว
- คุณแม่ตั้งครรภ์
- ผู้ที่ต้องการฟื้นฟูการบาดเจ็บหลังผ่าตัด
- ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
- การออกกำลังกายบนบกจะมีแรงกระแทกต่อข้อต่อมากกว่า
- วารีบำบัดจะเหนื่อยช้ากว่าการออกกำลังกายบนบก
- คนที่เพิ่งผ่าตัดจะมีข้อจำกัดคือลงน้ำหนักแขนหรือขาที่หักไม่ได้ จึงไม่สามารถออกกำลังกายบนบกได้อย่างปกติและเสี่ยงบาดเจ็บสูงมาก
- ผู้ปลอดภัยในคนที่มีปัญหาการทรงตัวและเคยล้ม มากกว่าบนบกถึงหลายเท่าตัว
- วารีบำบัดทำให้การทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดให้ดีขึ้น
- ในคุณแม่ตั้งครรภ์ วารีบำบัดจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ป้องกันอาการปวดหลัง เข่า และทำให้คลอดง่าย
- วารีบำบัดเหมาะกับคนที่น้ำหนักตัวมาก เพราะลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อต่อหลายเท่า