หลายๆคนที่ชอบออกกำลังกายอาจกำลังประสบปัญหาปวดต้นขาด้านหลัง หรือปวดบริเวณใต้ก้นและร้าวลงขา เรามาทำความรู้จักกับกลุ่มกล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บกันเถอะ!!!!
กล้ามเนื้อด้านหลังต้นขาประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 3 มัด ที่เรียกว่า กล้ามเนื้อ Hamstrings ได้แก่ กล้ามเนื้อ Semitendinosus , Semimembranosus และ Biceps femoris กล้ามเนื้อเหล่านี้ทอดอยู่ระหว่างข้อสะโพกและข้อเข่า โดยจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้ออยู่ที่ ischial tuberosity กล้ามเนื้อ Hamstrings ทำหน้าที่เหยียดต้นขาและงอเข่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะเดิน
Tip : ได้ชื่อแบบนี้เนื่องจากมันมีลักษณะกึ่งเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) กึ่งกล้ามเนื้อ
จุดเกาะต้น : Ischial tuberosity
จุดเกาะปลาย : ปลายด้านหลังของ medial tibial condyle
หน้าที่ : งอเข่าและหมุนขาเข้าใน ช่วยเหยียดสะโพก
(Function: Hip extension, knee flexion, medial rotation of knee in knee flexion)
วางตัวอยู่ลึกกว่ากล้ามเนื้อ Semitendinosus มีลักษณะกึ่ง membrane กึ่งกล้ามเนื้อ
จุดเกาะต้น : Ischial tuberosity
จุดเกาะปลาย : Posteromedial ของ tibial condyle
หน้าที่ : งอเข่าและหมุนขาเข้าใน และช่วยเหยียดข้อสะโพก
(Function: Hip extension, knee flexion, medial rotation of knee in knee flexion)
ชื่อของกล้ามเนื้อ Biceps femoris บ่งบอกว่าเป็นกล้ามเนื้อรูปร่างคล้ายกระสวยมี 2 หัว คือ long head และ short head บริเวณส่วนล่างต้นขา long head จะกลายเป็น tendon
จุดเกาะต้น : long head เกาะที่ขอบในของ ischial tuberosity และ sacrotuberous ligament. และ Short head เกาะจาก linea Aspera และ lateral supracondylar line of femur
จุดเกาะปลาย : Head of fibular
หน้าที่ : งอข้อเข่าและหมุนขาออกนอก , ส่วน long head ช่วยเหยียดข้อสะโพกเมื่อเท้ายันติดพื้น
(Function: Knee flexion, Hip extension, and knee external rotation when the knee is flexed)
หากมีจุดปวด/กดเจ็บ (Trigger point) ในกล้ามเนื้อ Hamstrings อาจทำให้มีอาการปวดแผ่ร้าวไปตามร่างกาย ดังรูป
Hamstrings strains หมายถึง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ Hamstrings ซึ่งเกิดการฉีกขาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ พบได้บ่อยในคนที่วิ่งหรือเตะบ่อยๆ เช่น นักกีฬาวิ่ง หรือกระโดดสูง เป็นต้น การที่กล้ามเนื้อถูกกระชากอย่างแรงอาดทำให้เกิดการฉีกขาดของส่วนเกาะต้นของกล้ามเนื้อนี้ที่ Ischial tuberosity
นอกจากนี้อาการปวดต้นขาด้านหลังสามารถใช้ เครื่องอัลตราซาวด์ สแกนหาความผิดปกติของตำแหน่งที่ปวดเพื่อดูความผิดปกติต่างๆ เช่น การเกิดแคลเซียมที่เอ็นกล้ามเนื้อ ภาวะกล้ามเนื้อเสื่อม หรือกล้ามเนื้อฉีก และยังสามารถใช้อัลตราซาวน์นำวิถีการฉีดยาได้อย่างแม่นยำ ตรงจุด และมีความปลอดภัยสูง
รูปแสดง ภาพกล้ามเนื้อ Hamstrings ที่มีการบาดเจ็บ โดยเครื่องอลตราซาวน์
Shockwave Therapy หรือ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก
เป็นคลื่นกระแทกที่ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีการอักเสบหรือบาดเจ็บ เกิดการกระตุ้นบริเวณที่บาดเจ็บทำให้เร่งการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ ได้ด้วยตนเอง
High Power Laser therapy
เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
1. Lying Hamstrings stretch
วิธีทำ นอนหงาย ชันเข่าข้างที่ต้องการยืด จากนั้นใช้ยางยืดหรือผ้ายาวๆ (ผ้าขนหนู , ผ้าขาวม้า เป็นต้น) คล้องที่เท้า (Ball of foot) มือทั้ง 2 ข้าง จับปลายผ้า จากนั้นค่อยๆเหยียดขาขึ้นให้เข่าตรง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป
2. Sitting Hamstrings stretch
วิธีทำ นั่งหลังตรง เหยียดขาข้างที่ตรงการยืด เข่าชิดพื้น ปลายเท้ากระดกขึ้น ใช้ยางยืด/ผ้ายาว คล้องปลายเท้า มือทั้ง 2 ข้าง จับปลายผ้า และออกแรงดึง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป
หรือ นั่งหลังตรง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืด เหยียดแขนไปทางปลายเท้าและโน้มตัวไปข้างหน้าให้นิ้วแตะปลายเท้า (การโน้มตัวให้ใช้สะโพกเป็นจุดหมุน ไม่ใช้การก้มหลัง) ดึง จนรู้สึกตึงระดับปานกลางที่ต้นขาด้านหลัง หรือบริเวณข้อพับ ค้างไว้ 15 – 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังรูป
3. Foam roller
วิธีทำ วาง foam roller ไว้ที่ต้นขาด้านหลัง จากนั้นใช้น้ำหนักตัวกดลงและเลื่อนโฟมขึ้น - ลง เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีอาการตึง ดังรูป
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อขาหนีบกันก่อนดีกว่าค่ะ กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)
เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา มี 3 มัด คือ
- Adductor longus
- Adductor brevis
- Adductor magnus
1. เกิดจากการหมุนของขาออกนอกอย่างรุนแรง ขณะที่อยู่ในท่าขากาง ทำให้เกิดการยืด หรือฉีกขาดของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ
2. มีการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ ซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle)ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว
3. เกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle) ไม่ค่อยแข็งแรง แต่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps muscle) แข็งแรงมาก มันจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มนี้ไม่สมดุลกัน เกิดการดึงรั้งซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา
- จะรู้สึกปวดเหมือนมีมีด เสียบเข้าที่ขาหนีบ
- อาจจะปวดตื้อๆ
- จะปวดมากขึ้นเมื่อให้หนีบขาต้านแรง
- แพทย์จะตรวจพบ จุดกดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip adductor muscle)
- บางครั้ง อาจมีอาการเหมือนข้อสะโพกติดในตอนเช้า
- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน
- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ
- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
- การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง
>การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา
>การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย
1. นั่งหันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ
2. ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างตามภาพ แล้วค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ
3. ยืนกางขาเล็กน้อย ค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ
4. นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง /รอบ ทำ 3 รอบ
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare