Skip to main content

Groin_pain

ปวดขาหนีบ ทำอย่างไรดี
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อขาหนีบกันก่อนดีกว่าค่ะ กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)
เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา มี 3 มัด คือ
 - Adductor longus
 - Adductor brevis
 - Adductor magnus

 กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)



สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ

1. เกิดจากการหมุนของขาออกนอกอย่างรุนแรง ขณะที่อยู่ในท่าขากาง ทำให้เกิดการยืด หรือฉีกขาดของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ

2. มีการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ ซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle)ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

3. เกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle) ไม่ค่อยแข็งแรง แต่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps muscle) แข็งแรงมาก มันจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มนี้ไม่สมดุลกัน เกิดการดึงรั้งซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา

สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ


อาการ

- จะรู้สึกปวดเหมือนมีมีด เสียบเข้าที่ขาหนีบ

- อาจจะปวดตื้อๆ

- จะปวดมากขึ้นเมื่อให้หนีบขาต้านแรง 

- แพทย์จะตรวจพบ จุดกดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip adductor muscle) 

- บางครั้ง อาจมีอาการเหมือนข้อสะโพกติดในตอนเช้า


วิธีการรักษา

- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน

- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ

- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา Prolotherapy Injection

- การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง

>การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา 

การใช้ Therapeutic ultrasound

>การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย 


การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่มีปัญหา

1. นั่งหันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

 นั่ง หันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ

2. ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างตามภาพ แล้วค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้

3. ยืนกางขาเล็กน้อย ค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนกางขาเล็กน้อยค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา

4. นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง /รอบ ทำ 3 รอบ

นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare