หลายคนคงเคยประสบกับอาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอกขณะเคลื่อนไหวข้อมือโดยเฉพาะการกระดกข้อมือขึ้น และอาจจะเจ็บมากขึ้นเมื่อออกแรงกำมือร่วมกับการกระดกข้อมือ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศที่ต้องพิมพ์งานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือจะเหล่าแม่บ้านที่ต้องทำงานบ้านอย่างหนัก วันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคที่เรียกว่า “Tennis elbow”
Tennis elbow / Lateral epicondylitis เป็นการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้น (extensor muscle group of the forearm) โดยกล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะมีจุดเกาะต้นอยู่ที่บริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle) โดยกล้ามเนื้อที่มักจะพบปัญหามากที่สุดคือ extensor carpi radialis brevis
มาทำความรู้จักกับกล้ามเนื้อต้นเหตุของเรากันหน่อยดีกว่า
จุดเกาะต้น : ปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle)
จุดเกาะปลาย : ฐานของกระดูก matacarpal ของนิ้วที่สาม
หน้าที่: กระดกข้อมือขึ้น (Extend and abduct wrist joint)
มักเกิดจากการใช้งานซ้ำๆมากจนเกินไป(overuse) เช่น นักกีฬาเทนนิส / แบดมินตัน , การกระดกข้อมือเพื่อพิมพ์คีย์บอร์ดต่อเนื่องเป็นเวลานาน , ช่างซ่อมที่ต้องใช้เครื่องมือประเภท คีมห รือไขควง เป็นต้น หรือมีการสะบัด / ตวัดข้อมือขึ้นแรงๆ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณศอก
- มีอาการปวดบริเวณปุ่มกระดูกทางด้านนอกของข้อศอก (lateral epicondyle) เมื่อขยับข้อมือ ในบางรายอาจปวดร้าวไปตามแขนจนถึงข้อมือ
- มีจุดกดเจ็บที่บริเวณเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่บริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของข้อศอก
- ในรายที่เพิ่งเป็นอาจพบอาการบวม แดง ร้อนที่บริเวณข้อศอก
- ในรายที่มีการอักเสบเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกร่วมด้วย
- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อศอก แนะนำให้พักการใช้งานแขนข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 - 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้
- ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drug: NSAIDs) เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการปวด
- Platelet Rich Plasma (PRP) คือการสกัดเอาเกล็ดเลือด โปรตีน ฮอร์โมน growth factor และเซลล์จากกระแสเลือด แล้วฉีดกลับเข้าไปยังส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือมีการอักเสบ ซึ่งจะช่วยในการสมานแผลและซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่บาดเจ็บ
- Prolotherapy injection คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
- Physical therapy
Shockwave therapy : เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา
High power laser therapy : เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซม ฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
Ultrasound therapy : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- หากรักษาด้วยวิธีการอื่นๆแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยภายใน 6 - 12 เดือน แพทย์อาจพิจารณาและแนะนำให้ทำการผ่าตัด
1. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors stretch)
วิธียืด : หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensors stretch)
วิธียืด : คว่ำฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือลง เหยียดศอกตรง ใช้มืออีกข้างช่วยในการกระดกข้อมือ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
3. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า (Wrist flexors strengthening)
วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หงายฝ่ามือพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต
4. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขนด้านหลัง (Wrist extensor strengthening)
วิธีทำ : ตั้งศอก 90° กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg คว่ำฝ่ามือลงพร้อมกระดกข้อมือขึ้น ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต
5. ท่าเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในการบิดหมุนข้อมือ (Supinator & pronator strengthening)
วิธีทำ : ตั้งศอก 90°กับลำตัว ถือดัมเบลล์หรือขวดน้ำ หนักประมาณ 1 kg หมุนฝ่ามือหงายสลับกับคว่ำมือ ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต
6. ท่าบีบลูกบอล
วิธีทำ : กำลูกบอลค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต
7. ท่ากางนิ้ว
วิธีทำ : ใช้ยางยืดหรือหนังยางสวมไว้บริเวณนิ้วแล้วกางออก ค้างไว้ 5 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง 3 เซต
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
บรรดาแม่ครัวเวลาสับอาหาร แม่บ้านเวลากวาดบ้านโดยใช้หลังมือ หรือบิดผ้า บรรดามือกลอง หรือผู้ที่ต้องเกร็งข้อมือหรือใช้งานข้อมืออย่างหนัก เช่นคนที่พิมพ์งานหน้าจอคอมฯเป็นประจำ หรือแม้แต่นักเรียน นักศึกษาที่ต้องจดแลกเชอร์อาจารย์เคยสังเกตไหมว่าทำไมถึงชอบมีอาการปวดข้อศอกด้านนอกด้วย???
อาการปวดข้อศอกด้านนอก โรคนี้ถูกเรียกว่า Tennis elbow เป็นโรคเอ็นกล้ามเนื้อข้อศอกที่ใช้ในการกระดกข้อมือขึ้นเกิดการอักเสบ จากการใช้งานซ้ำๆ มากเกินไปนั่นเอง
วันนี้แอดมินขอนำเสนอวิธีการดูแลและรักษาอาการเบื้องต้น
- หากเพิ่งเริ่มมีอาการปวดหลังทำกิจกรรม ให้หยุดการทำกิจกรรมนั้น และใช้ Cold pack หรือ น้ำแข็งประคบเย็นบริเวณที่ปวด 10 นาที ทุกๆ 1 ชั่วโมง และให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบาๆร่วมด้วย
- หากมีอาการปวดเรื้อหรือเป็นมานาน ให้ใช้การประคบอุ่นบริเวณที่ปวด 15 นาที และยืดกล้ามเนื้อ+นวดคลึงเบาๆบริเวณที่มีอาการปวดตึง
ท่าที่ 1 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า
วิธีทำ หงายฝ่ามือและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ
ท่าที่ 2 ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
วิธีทำ คว่ำฝ่ามือลงและเหยียดแขนไปทางด้านหน้า ใช้มืออีกข้างจับฝ่ามือให้กระดกลงจนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ ค้างไว้นับ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 รอบ
ท่าที่ 3 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า
วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° หงายฝ่ามือออก ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ
ท่าที่ 4 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ ข้อศอกงอ 90° คว่ำฝ่ามือลง ถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. กระดกข้อมือขึ้น 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ
ท่าที่ 5 ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อหมุนแขน
วิธีทำ นั่งตัวตรง วางแขนบนโต๊ะ มือถือดัมเบลหนักเริ่มต้นที่ 0.5 กก. หมุนฝ่ามือให้หงายขึ้นและคว่ำฝ่ามือลง 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ
ท่าที่ 6 ท่าบิดผ้าขนหนู
วิธีทำ นั่งตัวตรง มือทั้ง 2 ข้างจับที่ปลายผ้าขนหนูแต่ละด้าน จากนั้นหมุนบิดผ้าขนหนู 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 รอบ
ท่าที่ 7 ท่ากำลูกบอล
วิธีทำ กำมือขย้ำลูกบอลค้างไว้นับ 1-5 แล้วปล่อย 10 ครั้ง ทำซ้ำ 3 ครั้ง
ท่าออกกำลังกายและการดูเเลเบื้องต้นจะช่วยบรรเทาอาการปวดและช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ หากยังมีอาการปวด สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาและรักษาอาการปวดได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิก
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare