หมอนรองกระดูก ทำหน้าที่ เป็นตัวรองรับและกระจายแรง ของกระดูกสันหลัง
หมอนรองกระดูกปลิ้น เกิดจากการฉีกขาดของเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกชั้นนอก (Annulus fibrosus) ทําให้ส่วนที่อยู่ชั้นในที่มีลักษณะคล้ายวุ้น (Nucleus pulposus) ที่อยู่ตรงกลางเคลื่อนออกมากดเบียดเส้นประสาท (Nerve root) ส่งผลให้เกิดอาการปวด ชาร้าวลงขาได้
- มักจะพบในอายุ 21-50 ปี
- พบในผู้ชาย มากกว่า ผู้หญิง
- 90% จะพบมากในบริเวณหลังส่วนล่าง
- สาเหตุมาจากการก้มหลังยกของหนัก, การขับรถนาน, ก้มๆเงยๆหลังเป็นประจำ, บิดตัว และอุบัติเหตุ
- ปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง
- ถ้าเป็นมากอาจมีอาการชา หรือมีอาการอ่อนแรงของขาหรือเท้า
- ในบางรายที่เป็นมาก จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาทั้ง 2 ข้าง ขาชาและอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง ปัสสาวะไม่ออกและท้องผูกจําเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิด อย่างถาวร
- ไอ จาม เบ่งแล้วจะมีอาการปวด
90 % ของผู้ป่วยจะดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
- รับประทานยาแก้ปวด / คลายกล้ามเนื้อ
- ฉีดยา
- การทำกายภาพบำบัด
- การใช้เครื่องช่วยดึงหลัง การดึงกระดูกสันหลัง จะช่วยให้หมอนรองกระดูกกลับเข้าที่ได้ เพราะเป็นการดึงให้กระดูกสันหลังแยกห่างออกจากกัน ทำให้ลดแรงกดเบียดต่อตัวหมอนรองกระดูกได้
- การลดอาการปวด โดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด
- การฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ร่วมกับการฝึกหายใจ โดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้รักษาและให้คำแนะนำ
1. ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที เช้า-เย็น
2. เริ่มต้น : นอนคว่ำ แล้วค่อยๆพยุงตัวขึ้น ตั้งศอก 90 องศา ขณะที่สะโพกยังสัมผัสกับพื้น ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้น
3. เริ่มต้น : นอนคว่ำ แล้วค่อยๆพยุงตัวขึ้น เหยียดศอกตรง ขณะที่สะโพกยังสัมผัสกับพื้น ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้น
4. เริ่มต้น : ทำท่าตั้งคลาน ค่อยๆโก่งหลังขึ้น ก้มศีรษะลง พร้อมหายใจเข้า หลังจากนั้นค่อยๆแอ่นหลังโค้ง กดหน้าท้องลงให้ใกล้พื้นมากที่สุด เงยศีรษะขึ้น พร้อมหายใจออก ทำ 10 ครั้ง/รอบ ทำ 2-3 รอบ
5. เริ่มต้น : ทำท่าตั้งคลาน ค่อยๆยกแขนซ้ายไปด้านหน้าและเหยียดขาขวาไปด้านหลัง ทำค้างไว้ 10-15วินาที แล้วค่อยๆกลับมาท่าตั้งคลาน ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วสลับข้าง
ถึงแม้อาการหมอนรองกระดูกจะดีขึ้นหรือหายแล้ว ก็สามารถกลับมาปลิ้นซ้ำได้ ดังนั้นการดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ในการป้องกันไม่ให้อาการเหล่านี้กลับมาเป็นอีกในอนาคต โดยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว การระมัดระวังในการนั่งขับรถนานๆ หรือการก้ม บิดลำตัว ยกของหนักๆ เป็นประจำ
หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare