กลุ่มอาการปวดหลังประเภทต่างๆ
1.กลุ่มอาการปวดหลังที่เกิดจากกล้ามเนื้อ
ปวดหลังจากกล้ามเนื้อ Quadratus Lumborum หรือ เรียกว่ากล้ามเนื้อ QL
สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ขับรถนานๆ แล้วชอบมีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดบริเวณเอวลึกๆข้างใน และเมื่อไปนวด หรือกดโดนจุดเล็กๆแล้วจะรู้สึกสบายแต่เมื่อกลับไปทำงานต่ออาการก็กลับมาอีก!!!
กล้ามเนื้อ QL วางตัวอยู่บริเวณหลังส่วนล่าง โดยเกาะระหว่างซี่โครงและกระดูกสันหลังกับกระดูกเชิงกราน ดังรูป
โดยกล้ามเนื้อ QL ทำหน้าที่ในการยักสะโพก , เอียงตัว , แอ่นหลัง และยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับข้อกระดูกสันหลังระดับเอว อีกด้วย แต่เมื่อกล้ามเนื้อ QL ทำงานติดต่อกันทำให้เกิดการเกร็งค้าง และทำให้มีอาการปวดได้เช่นกัน ซึ่งพฤติกรรมที่มักทำให้กล้ามเนื้อ QL มีอาการตึงคือ
- ยืนแอ่นหลัง และก้นงอน ทำให้กล้ามเนื้อ QL ต้องทำงานตลอดเวลา (Anterior pelvic tilt)
- ชอบยืนหรือนั่งเอียงตัว นั่งชันเข่า นั่งพับเพียบข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา เพราะกล้ามเนื้อ QL ข้างนั้นๆจะทำงานอยู่ฝั่งเดียว
- ชอบนอนหมอนสูงและอยู่ในท่านอนตะแคงตลอดคืน จะทำให้เอวด้านบนหดงอเข้าหากันอยู่ตลอด กล้ามเนื้อ QL จึงหดตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อกล้ามเนื้อตึงมากๆจึงทำให้มีอาการปวดได้
- กล้ามเนื้อก้นบริเวณข้างสะโพกอ่อนแรง (หรือกล้ามเนื้อ Gluteus medius) ปกติกล้ามเนื้อ Gluteus medius ทำหน้าที่คุมระดับเชิงกรานให้สมดุล แต่เมื่ออ่อนแรง กล้ามเนื้อ QL จึงต้องออกแรงช่วย จึงทำให้ตึงและปวดได้
วิธีการรักษาเมื่อมีปวดหรือตึงกล้ามเนื้อ QL
1. Dry needling หรือการฝังเข็ม
เพื่อคลายจุดเกร็งของกล้ามเนื้อที่เรียกว่า Myofascial trigger point โดยใช้เข็มสะกิดเพื่อให้เกิดการคลายตัวของ Trigger point อาการปวดก็จะหายไป โดยอาการปวดเมื่อมี Trigger point อาจมี refer pain ไปตามสะโพกได้ ดังรูป
2. การฉีดยา หรือ Prolotherapy injection
คือการฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
การทำกายภาพบำบัด
1. Ultrasound therapy
ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เเละข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
2. High Power Laser therapy
เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
2.กลุ่มอาการปวดหลังที่เกิดจากกระดูกสันหลัง
2.1 โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท (Herniated disc)
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่มีอาการปวดหลังร้าวลงขา เพราะกระดูกสันหลังบริเวณนี้รับน้ำหนักมาก และมีการเคลื่อนไหวค่อนข้างเยอะกว่ากระดูกสันหลังส่วนอื่นๆ ทำให้หมอนรองกระดูกอาจจะเกิดการแตกปลิ้นออกมาจนกดเบียดเส้นประสาท โดยจะมีอาการปวดหลังช่วงเอวต่อกับสะโพก ร่วมกับปวดร้าวลงขา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมของขาหรือปลายเท้าร่วมด้วยได้
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
1.การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ
2.น้ำหนักตัวที่มากเกินไป
3.นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ
4.อุบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
อาการอาจแสดงออกได้ทั้งบริเวณหลังและขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่ามีเพียงอาการปวดหลังอย่างเดียว แต่ที่จริงแล้วอาการที่ขานั้นสำคัญและจำเพาะเจาะจงกับโรคนี้มากกว่า นั่นแสดงถึงว่าเกิดการรบกวนของเส้นประสาทสันหลังที่วิ่งไปเลี้ยงบริเวณขาแล้ว หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามักทำให้เกิดอาการแบบฉับพลัน เพราะมีการอักเสบที่รุนแรง
- อาการปวดหลังส่วนล่าง : มักจะปวดหลังบริเวณเอวส่วนล่าง โดยมีอาการที่บริเวณหลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ส่วนใหญ่จะมีอาการในลักษณะของท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้า ซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
- อาการขาชา : อาการเด่นชัดที่มักแสดงที่บริเวณขา มีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด อาการชา หรือ อ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
2.2 โรคกระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis)
เป็นอาการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพ ส่งผลให้กระดูกสันหลังขาดความยืดหยุ่นและติดแข็งมากขึ้น พบได้มากที่สุดคือบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอและบั้นเอว กระดูกสันหลังเสื่อมเกิดจากการเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยทั่วไปแล้วโรคนี้พบได้ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่านั้นมากขึ้น หากความสามารถในการเคลื่อนไหวเริ่มผิดปกติหรือมีปัญหา มือ แขน เท้า และขามีอาการชาและอ่อนแรง ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาทางรักษาและช่วยป้องกันกระดูกสันหลังเสื่อมเพิ่ม
อาการของกระดูก ของกระดูกสันหลังเสื่อมมีดังนี้
- ปวดบั้นเอว
- กระดูกสันหลังติดแข็งและขยับตัวลำบาก
- มือ แขน เท้า หรือขา ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีอาการชา อ่อนแรง หรือ เป็นเหน็บ
- ปวดศีรษะในบางครั้ง
- กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ค่อยอยู่
- ในกรณีที่มีการกดเบียดเส้นประสาทรุนแรง จะทำให้เดินลำบาก เดินแล้วไม่สมดุล ไม่มั่นคงเหมือนจะหกล้ม โดยเฉพาะเวลาขึ้นบันได
สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
คือการที่กระดูก หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็นกระดูก และกล้ามเนื้อหลังเสื่อมสภาพเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากการที่กระดูกสันหลังโค้งงอเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดแรงกดบนหมอนรองกระดูกและข้อต่อของกระดูกสันหลัง และเสียความยืดหยุ่นไป ยกตัวอย่างเช่น การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ โดยเฉพาะการนั่งหลังค่อม พอลุกจากเก้าอี้กระดูกสันหลังจะถูกทำให้ตรงในทันทีจึงทำให้เกิดการเสียดทานขึ้น ร่างกายจึงสร้างกระดูกงอกออกมาจากข้อต่อเพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในบางครั้งกระดูกที่งอกขึ้นมานั้นมีขนาดใหญ่เกินไปจนเบียดกับเส้นประสาทและไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวด ซึ่งมักพบทั่วไปในผู้สูงอายุ
ที่รีแฮปแคร์คลินิกใช้เครื่องมือกายภาพลดปวดที่มีเทคโนโลยีล่าสุดและทันสมัย มีมาตรฐานสูง นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เยอรมัน อิตาลี อังกฤษ เป็นต้น
1.คลื่นกระแทก (Focus Shockwave) : เป็นการส่งพลังงานผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อลดการอักเสบและลดปวด อีกทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและรักษาอาการปวดเรื้อรัง
2.เลเซอร์พลังงานสูง (High power laser therapy) : ช่วยในการเติมพลังงานให้เซลล์ กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย ทำให้การอักเสบลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดการอักเสบที่เกิดจากปลายประสาท เช่น ชา แสบร้อน และช่วยอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
3.เครื่องอัตราซาวด์ความร้อนลึก (Ultrasound therapy) : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
4.เครื่องดึงคอหรือดึงหลัง(Traction) : เพื่อคลายกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอหรือหลัง โดยมีการคำนวณความหนักของแรงดึงตามน้ำหนักตัวและตั้งระยะเวลาที่ใช้ในการดึง-ปล่อยอย่างเหมาะสมเพื่อความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
5.เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) : เป็นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนังเพื่อช่วยในการลดปวด
6.การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise) และการออกกำลังกายในน้ำ(Hydrotherapy) เพื่อปรับโครงสร้างร่างกายและฟื้นฟูให้แข็งแรง ไม่กลับมาปวดซ้ำ
การป้องกันอาการปวดหลัง สิ่งที่สำคัญคือการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง และยืดเหยียดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวและกล้ามเนื้อสะโพก ระมัดระวังท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด เช่น การก้มหลัง การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการยกของหนักเป็นประจำ โดยหากมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึง สามารถประคบอุ่นด้วยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า ช่วยลดอาการปวดได้ แต่หากมีอาการปวดในระดับที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือปวดเรื้อรังเป็นเวลานาน ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม