Skip to main content

ปวดขา

ปวดแบบไหนควรประคบร้อนหรือเย็น
Posted: January 11, 2024 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด

ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย

อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก

วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน

การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด

ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น

อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น

วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ

ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น

ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น

อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น

1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้

2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน

3 ท่าออกกำลังกายสำหรับคนชอบนั่ง
Posted: March 21, 2022 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

#นั่งทำงานนานๆหรือนั่งไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อคอบ่าสะบัก หลังสะโพก ขาตามมาได้ ในวันนี้เราจะมาสอนวิธีการออกกำลังกายสำหรับกล้ามเนื้อหลังล่างและสะโพกกันค่ะ

เริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อกันก่อน

ท่าที่ 1 : กล้ามเนื้อหลัง โดยนอนราบกับพื้น กอดเข่าชิดอกให้ได้มากที่สุด รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ 15 วินาที 4 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน ทำทีละข้างให้ครบ จากนั้นจึงสลับข้าง

ท่าที่ 2 : กล้ามเนื้อสะโพก โดยนำขาข้างนึงพาดไว้อีกข้าง จากนั้นดึงขาข้างที่ถูกพาดชิดอกให้รู้สึกตึงบริเวณสะโพก แต่ไม่เจ็บ 15 วินาที 4 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน

เมื่อเราคลายกล้ามเนื้อโดยการยืดแล้ว ต่อไปควรเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดตามมาค่ะ

ท่าที่ 3 : กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หรือท่าแพลง ท่านี้จะได้ทั้งหลังและสะโพกค่ะ

ท่านอนคว่ำ งอแขนตั้งฉากกับพื้น จากนั้นยกลำตัวขึ้นให้ขนานกับพื้น ค้างไว้ 30 วินาที 10 ครั้ง/รอบ ห้ามกลั้นหายใจขณะออกกำลังกายนะคะ

ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับอาการที่เป็นหรือท่าออกกำลังกายสามารถส่งข้อความเข้ามาสอบถามได้นะคะ
 

ปวดหน้าแข้ง อาการที่นักวิ่งไม่อยากเจอ!!!
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

นักวิ่งหลายๆคนคงพอคุ้นเคยกับอาการเจ็บหน้าแข้ง บริเวณด้านหน้า หรือด้านในของหน้าแข้งกันบ้าง สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นการวิ่งมาเริ่มทำความรู้จักกับอาการเจ็บหน้าแข้งกันเถอะ!!!

อาการปวดบริเวณหน้าแข้ง เรียกอีกชื่อว่า กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือ Shin splints syndrome  เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเยื้อหุ้มกระดูก บริเวณรอบๆกระดูกหน้าแข้ง (Tibial bone) 

โดยอาการปวดสันหน้าแข้ง หรือ Shin splints จะมีอาการปวด 2 แบบ คือ ปวดสันหน้าแข้งด้านหน้า (Anterior shin splints) และปวดสันหน้าแข้งด้านใน (Medial shin splints หรือ Medial tibial stress syndrome) ซึ่งมักพบบริเวณหน้าแข็งด้านในตอนล่างที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อ Soleus และ กล้ามเนื้อ Tibialis Posterior  ซึ่งทำหน้าที่บิดข้อเท้าเข้าด้านใน และจิกปลายเท้าลง

ปวดสันหน้าแข้งด้านหน้า (Anterior shin splints) ปวดสันหน้าแข้งด้านใน (Medial shin splints หรือ Medial tibial stress syndrome)

อาการเจ็บหน้าแข้งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ เช่น กล้ามเนื้อฉีก กระดูหัก และสาเหตุที่มักพบบ่อยคือ จากการใช้งานหรือการฝึกที่หักโหม เร่งรัดเกินไป


สาเหตุของอาการหน้าแข้งอักเสบ

1. วิ่งหักโหม หรือคนที่เร่งซ้อมมากเกินไป

2. ขาดการยืดกล้ามเนื้อ หรือ warm up ก่อนการวิ่ง

3. การยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกายไม่เพียงพอ

4. ใส่รองเท้าไม่เหมาะสม หรือพื้นรองเท้าแข็งเกินไป หรือวิ่งบนพื้นที่แข็ง

5. มีลักษณะเท้าแบน (Flat feet) หรือคนที่วิ่งแล้วเท้ามีลักษณะที่ปลายเท้าหันออกด้านนอกมากเกินไป (Pronation)


การดูแลรักษาเบื้องต้น

- เมื่อเริ่มมีอาการปวดบริเวณหน้าแข้ง (หน้าแข้งมีอาการปวด บวม แดง ร้อน แสดงถึงอาการอักเสบ) ให้หยุดพักจากกิจกรรมที่ทำให้มีอาการ จากนั้นใช้การประคบคบเย็นบริเวณหน้า เป็นเวลา 10 – 15 นาที 
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rehabcareclinic.com/blog/เคล-ดล-บแก-อาการบาดเจ-บจากการเล-นก-ฬา)


ระหว่างที่พักหมั่นยืดกล้ามเนื้อหน้าแข้งและกล้ามเนื้อน่องอยู่เป็นประจำทุกวัน

- ยืนกดปลายเท้า ร่วมกับหมุนเท้าเข้าด้านใน หรือหมุนเท้าออกด้านใน เพื่อหาจุดที่ตึงบริเวณหน้าแข้ง โดยขณะที่ยืดจะต้องไม่ตึงหน้ามากเกินไปจนรู้สึกเจ็บ ค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังภาพ

ยืนกดปลายเท้า ร่วมกับหมุนเท้าเข้าด้านใน หรือหมุนเท้าออกด้านใน

- ใช้นิ้วโป้งกดนวด คลึงบริเวณกล้ามเนื้อข้างสันหน้าแข้งที่มีอาการปวดตึง
(ไม่ต้องออกแรงกดมากเกินไป)

ใช้นิ้วโป้งกดนวด คลึงบริเวณกล้ามเนื้อข้างสันหน้าแข้งที่มีอาการปวดตึง

- ใช้ Foam Roller คลึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าแข้งที่มีอาการปวด

ใช้ Foam Roller คลึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าแข้งที่มีอาการปวด

- ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น  ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ ดังภาพ

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ทำค้างไว้นับ

- ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง และงอเข่าเล็กน้อย ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ ดังภาพ

ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง

ในช่วงพักฟื้นกล้ามเนื้อ ลองเปลี่ยนไปเล่นกีฬาประเภทที่ไม่มีแรงกระแทกต่อหน้าแข้งมากเช่นว่ายน้ำ วิ่งในน้ำ หรือปั่นจักรยานเป็นต้น

วิ่งในน้ำปั่นจักรยาน


เมื่ออาการปวดลดลง ต้องเพิ่มความแข็งของกล้ามเนื้อหน้าแข้งเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการวิ่ง หรือรับแรงกระแทกในการวิ่ง

- ใช้ผ้าขนหนูวางรองใต้ข้อเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง อาจใส่ถุงทรายเพื่อเพิ่มน้ำหนักโดยเริ่มจาก 0.5 กก. หรือ 1 กก. ได้ 10-12 ครั้ง ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ใช้ผ้าขนหนูวางรองใต้ข้อเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น-ลงใช้ผ้าขนหนูวางรองใต้ข้อเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง

- ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง 10-12 ครั้ง ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลงยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง

ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง หรือดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเมื่อกลับไปวิ่งแล้วอาการกลับมาอีกครั้ง แนะนำให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ และเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยจะใช้เครื่องมือทางกายภาพเพื่อช่วยลดปวด ลดอักเสบ กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของร่างกายให้เร็วขึ้น

การฉีดยา หรือ Prolotherapy injection 

คือการฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท  

การฉีดยา หรือ Prolotherapy injection


การทำกายภาพบำบัด

1. Ultrasound therapy

ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เเละข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ 

Ultrasound therapy

2. High Power Laser therapy 

เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น

3.การติดเทป kinesio tape

ที่กล้ามเนื้อหน้าเเข้ง เพื่อพยุงกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้ลดการใช้งานลง และสามารถกลับไปทำกิจกรรมเดิมๆโดยที่ไม่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวด  

การติดเทป kinesio tape

ใครที่พื้นรองเท้าเเข็งแนะนำให้เลือกรองเท้าที่พื้นไม่แข็ง เพื่อลดเเรงกระแทกต่อหน้าเเข้ง สำหรับคนเท้าแบนเเนะนำหาแผ่นรองเท้าเพื่อเสริมอุ้งเท้า และหลีกเลี่ยงการวิ่งทางชันและพื้นที่เเข็งเกินไป

เมื่อมีอาการบาดเจ็บ อย่าปล่อยความสงสัยไว้ มาพบแพทย์และใช้อัลตราซาวน์ตรวจดูโครงสร้างที่มีปัญหาได้ เพื่อวางแผนการรักษา และฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเเข็งเเรงอีกครั้ง^^

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

 

ปวดขาหนีบ ทำอย่างไรดี
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อขาหนีบกันก่อนดีกว่าค่ะ กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)
เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่หุบขา มี 3 มัด คือ
 - Adductor longus
 - Adductor brevis
 - Adductor magnus

 กล้ามเนื้อขาหนีบหรือกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบสะโพก (hip adductor muscle)



สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ

1. เกิดจากการหมุนของขาออกนอกอย่างรุนแรง ขณะที่อยู่ในท่าขากาง ทำให้เกิดการยืด หรือฉีกขาดของเอ็นหรือกล้ามเนื้อ

2. มีการบาดเจ็บ เล็กๆน้อยๆ ซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle)ที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

3. เกิดจากกล้ามเนื้อขาหนีบ (hip adductor muscle) ไม่ค่อยแข็งแรง แต่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (quadriceps muscle) แข็งแรงมาก มันจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อ 2 กลุ่มนี้ไม่สมดุลกัน เกิดการดึงรั้งซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา

สาเหตุของการเกิดการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อขาหนีบ


อาการ

- จะรู้สึกปวดเหมือนมีมีด เสียบเข้าที่ขาหนีบ

- อาจจะปวดตื้อๆ

- จะปวดมากขึ้นเมื่อให้หนีบขาต้านแรง 

- แพทย์จะตรวจพบ จุดกดเจ็บบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อขาหนีบ (Hip adductor muscle) 

- บางครั้ง อาจมีอาการเหมือนข้อสะโพกติดในตอนเช้า


วิธีการรักษา

- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน

- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณที่มีอาการปวด ประมาณ 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ

- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา Prolotherapy Injection

- การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง

>การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา 

การใช้ Therapeutic ultrasound

>การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย 


การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่มีปัญหา

1. นั่งหันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

 นั่ง หันฝ่าเท้าทั้งสองข้างเข้าหากัน ลำตัวตั้งตรง ค่อยๆโน้มตัวไปด้านหน้าช้าๆ

2. ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างตามภาพ แล้วค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ตั้งขาขึ้นมา 1 ข้างค่อยๆ โน้มตัวเองไปทางด้านหน้า ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้

3. ยืนกางขาเล็กน้อย ค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา ทำค้างไว้ นับ 1-15 ทำซ้ำ 3-5 รอบ

ยืนกางขาเล็กน้อยค่อยๆถ่ายน้ำหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง ให้รู้สึกตึงๆบริเวณหน้าขา

4. นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง /รอบ ทำ 3 รอบ

นอนตะแคง ขาข้างหนึ่งไว้บนเก้าอี้ส่วนขาที่อยู่ด้านล่างค่อยๆ หุบขาเข้า ทำช้าๆ ทำ 15 ครั้ง

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare