นักวิ่งหลายๆคนคงพอคุ้นเคยกับอาการเจ็บหน้าแข้ง บริเวณด้านหน้า หรือด้านในของหน้าแข้งกันบ้าง สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นการวิ่งมาเริ่มทำความรู้จักกับอาการเจ็บหน้าแข้งกันเถอะ!!!
อาการปวดบริเวณหน้าแข้ง เรียกอีกชื่อว่า กล้ามเนื้อหน้าแข้งอักเสบ หรือ Shin splints syndrome เกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเยื้อหุ้มกระดูก บริเวณรอบๆกระดูกหน้าแข้ง (Tibial bone)
โดยอาการปวดสันหน้าแข้ง หรือ Shin splints จะมีอาการปวด 2 แบบ คือ ปวดสันหน้าแข้งด้านหน้า (Anterior shin splints) และปวดสันหน้าแข้งด้านใน (Medial shin splints หรือ Medial tibial stress syndrome) ซึ่งมักพบบริเวณหน้าแข็งด้านในตอนล่างที่เป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อ Soleus และ กล้ามเนื้อ Tibialis Posterior ซึ่งทำหน้าที่บิดข้อเท้าเข้าด้านใน และจิกปลายเท้าลง
อาการเจ็บหน้าแข้งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุ เช่น กล้ามเนื้อฉีก กระดูหัก และสาเหตุที่มักพบบ่อยคือ จากการใช้งานหรือการฝึกที่หักโหม เร่งรัดเกินไป
1. วิ่งหักโหม หรือคนที่เร่งซ้อมมากเกินไป
2. ขาดการยืดกล้ามเนื้อ หรือ warm up ก่อนการวิ่ง
3. การยืดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกายไม่เพียงพอ
4. ใส่รองเท้าไม่เหมาะสม หรือพื้นรองเท้าแข็งเกินไป หรือวิ่งบนพื้นที่แข็ง
5. มีลักษณะเท้าแบน (Flat feet) หรือคนที่วิ่งแล้วเท้ามีลักษณะที่ปลายเท้าหันออกด้านนอกมากเกินไป (Pronation)
- เมื่อเริ่มมีอาการปวดบริเวณหน้าแข้ง (หน้าแข้งมีอาการปวด บวม แดง ร้อน แสดงถึงอาการอักเสบ) ให้หยุดพักจากกิจกรรมที่ทำให้มีอาการ จากนั้นใช้การประคบคบเย็นบริเวณหน้า เป็นเวลา 10 – 15 นาที
(ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rehabcareclinic.com/blog/เคล-ดล-บแก-อาการบาดเจ-บจากการเล-นก-ฬา)
- ยืนกดปลายเท้า ร่วมกับหมุนเท้าเข้าด้านใน หรือหมุนเท้าออกด้านใน เพื่อหาจุดที่ตึงบริเวณหน้าแข้ง โดยขณะที่ยืดจะต้องไม่ตึงหน้ามากเกินไปจนรู้สึกเจ็บ ค้างไว้ 15 – 20 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง ดังภาพ
- ใช้นิ้วโป้งกดนวด คลึงบริเวณกล้ามเนื้อข้างสันหน้าแข้งที่มีอาการปวดตึง
(ไม่ต้องออกแรงกดมากเกินไป)
- ใช้ Foam Roller คลึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าแข้งที่มีอาการปวด
- ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ ดังภาพ
- ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดขาข้างที่ต้องการยืดน่องไปด้านหลัง และงอเข่าเล็กน้อย ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ทำค้างไว้นับ 15 วินาที แล้วกลับมายืนตรง ทำซ้ำ 3-5 รอบ ดังภาพ
- ใช้ผ้าขนหนูวางรองใต้ข้อเท้า กระดกปลายเท้าขึ้น-ลง อาจใส่ถุงทรายเพื่อเพิ่มน้ำหนักโดยเริ่มจาก 0.5 กก. หรือ 1 กก. ได้ 10-12 ครั้ง ทำซ้ำ 3-5 รอบ
- ยืนเขย่งปลายเท้าขึ้น-ลง 10-12 ครั้ง ทำซ้ำ 3-5 รอบ
ในรายที่มีอาการปวดเรื้อรัง หรือดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเมื่อกลับไปวิ่งแล้วอาการกลับมาอีกครั้ง แนะนำให้เข้ารับการตรวจจากแพทย์ และเข้ารับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยจะใช้เครื่องมือทางกายภาพเพื่อช่วยลดปวด ลดอักเสบ กระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมของร่างกายให้เร็วขึ้น
การฉีดยา หรือ Prolotherapy injection
คือการฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
1. Ultrasound therapy
ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ เเละข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
2. High Power Laser therapy
เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
3.การติดเทป kinesio tape
ที่กล้ามเนื้อหน้าเเข้ง เพื่อพยุงกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บให้ลดการใช้งานลง และสามารถกลับไปทำกิจกรรมเดิมๆโดยที่ไม่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการปวด
ใครที่พื้นรองเท้าเเข็งแนะนำให้เลือกรองเท้าที่พื้นไม่แข็ง เพื่อลดเเรงกระแทกต่อหน้าเเข้ง สำหรับคนเท้าแบนเเนะนำหาแผ่นรองเท้าเพื่อเสริมอุ้งเท้า และหลีกเลี่ยงการวิ่งทางชันและพื้นที่เเข็งเกินไป
เมื่อมีอาการบาดเจ็บ อย่าปล่อยความสงสัยไว้ มาพบแพทย์และใช้อัลตราซาวน์ตรวจดูโครงสร้างที่มีปัญหาได้ เพื่อวางแผนการรักษา และฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาเเข็งเเรงอีกครั้ง^^
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare