ภาวะไหล่ห่อ (round shoulder) คอยื่น (forward head) หลังค่อม (hypokyphosis) หรือ “ Upper crossed syndrome ” จากงานวิจัยของ V Janda (2013) อธิบายไว้ว่า เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ไม่สมดุลกัน โดยกล้ามเนื้อบางส่วนไม่แข็งแรงและยืดยาวออก ในขณะที่กล้ามเนื้ออีกฝั่งมีการตึงตัวและหดสั้น ซึ่งพบว่ากล้ามเนื้อมัดลึกในการก้มคอ (deep cervical flexor) และกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก (middle & lower trapezius, rhomboid, serratus anterior) มีการยืดยาวออก ร่วมกับกล้ามเนื้อคอ - บ่า (suboccipital, upper trapezius, levator scapulae) และกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก (pectoralis major and minor) มีการตึงตัว จากความไม่สมดุลกันที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมในแต่ละบุคลล และอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น
- อาการปวดบริเวณคอ บ่า และสะบัก โดยมักมีจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อที่มีการตึงตัวมาก อาจส่งผลให้มีอาการปวดร้าวไปที่ศีรษะ ขมับ เบ้าตา หรือร้าวลงแขนได้
- การกดทับบริเวณรากประสาทส่วนคอ โดยลักษณะคอที่ยื่นออกทางด้านหน้า ส่งผลให้เกิดการรบกวนบริเวณรากประสาทส่วนคอ อาจทำให้เกิดอาการปวดร้าว หรือชาร้าวลงแขนร่วมด้วยได้
- ส่งผลต่อการขยายตัวของทรวงอก ทำให้ทรวงอกไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การขยายตัวของปอดลดลง ความจุปอดลดลง ดังนั้นในบางคนอาจรู้สึกหายใจได้สั้น-ตื้น หรือหายใจไม่อิ่มได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ และนำมาซึ่ง Upper crossed syndrome นั้นมักเกิดจากลักษณะท่าทางการทำงาน เช่น พนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน พนักงานขับรถที่ต้องจับพวงมาลัยเป็นระยะเวลานาน หรือแม้กระทั่งนักเรียน นักศึกษาที่ต้องนั่งเรียนและอ่านหนังสือหลายชั่วโมงติดต่อกัน นอกจากนี้พฤติกรรมที่มักอยู่ในท่าทางก้มเป็นระยะเวลานานๆ เช่น การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต การกอดอก การสะพายกระเป๋าเป้หนักๆ การนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรืออิริยาบถใดๆ ที่กระทำซ้ำๆ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนท่าก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะไหล่ห่อ คอยื่น และหลังค่อมได้
วิธีตรวจเช็คภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อม
วิธีตรวจเช็คภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อม สามารถตรวจได้ง่ายๆที่บ้าน
วิธีที่ 1 เพียงแค่ยืนตัวตรงด้านหน้ากำแพง ปล่อยไหล่สบายๆ ไม่พยายามบีบหัวไหล่เข้าหากัน หากด้านหลังของศรีษะ และด้านหลังของหัวไหล่ไม่สัมผัสกับผนัง นั่นเป็นสัญญาณบอกว่ากำลังมีภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อมได้
วิธีที่ 2 ถ่ายรูปตนเอง ขณะยืนตรงจากทางด้านข้าง จากนั้นลากเส้นสมมติตั้งตรงในแนวดิ่ง โดยเริ่มจากตาตุ่มทางด้านนอก ลากตั้งฉากตรงขึ้นไปจนถึงศรีษะ ซึ่งลักษณะท่าทางที่ดีเมื่อลากเส้นตรงจากตาตุ่มทางด้านนอก จะต้องผ่านกึ่งกลางของข้อเข่า ปุ่มกระดูกบริเวณสะโพก ปุ่มกระดูกบริเวณกึ่งกลางหัวไหล่ และรูหู เช่นกันหากบริเวณปุ่มกระดูกต่างๆ อยู่ค่อนไปทางด้านหน้าของเส้นสมมติ แสดงถึงภาวะไหล่ห่อ คอยื่น และหลังค่อม
วิธีการรักษา
1.วิธีการรักษาทางการแพทย์ มีหลากหลายวิธี เช่น การรักษาโดยการฝังเข็มคลายจุดเกร็งกล้ามเนื้อ (dry needling) การฉีดกลูโคสหรือน้ำตาล (prolotherapy) การฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (PRP) เพื่อซ่อมแซมจุดอักเสบ เป็นต้น
2.วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบโดยการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น คลื่นกระแทก (focus shockwave) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (PMS : Peripheral Magnetic Stimulation) เลเซอร์พลังงานสูง (high power laser) คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เป็นต้น ซึ่งทำร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังการเฉพาะบุคคลเพื่อลดโอกาสการเป็นซ้ำ
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์หรือการทำกายภาพบำบัด สิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเลยในการรักษา ภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อม คือ การออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเนื้อมัดที่อ่อนแรง ร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อที่หดเกร็งและมีความตึงตัวสูง และเพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้นควรทำร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับการทำงานและสะดวกต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย
รีแฮปแคร์คลินิกมีท่าออกกำลังกายสำหรับ Upper crossed syndrome มาแนะนำกัน
1.Wall Stretch เพื่อยืดกล้ามเนื้อหน้าอกทางด้านหน้า (pectoralis)
ภาพแสดง Wall Stretch
2.Stretching upper trapezius เพื่อยืดกล้ามเนื้อคอบ่า (upper trapezius)
ภาพแสดง Stretching upper trapezius
3.Wall Slides เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะบัก (middle & lower trapezius, rhomboid, serratus anterior)
ภาพแสดง Wall Slides
4.Scapula retraction เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะบักด้านใน (rhomboid)
ภาพแสดง Scapula retraction
5.Chin tuck เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอมัดลึก และช่วยลดภาวะคอยื่น
ภาพแสดง Chin tuck
หากเริ่มมีอาการปวด หรืออยากตรวจประเมินโครงสร้างร่างกายว่ามีภาวะไหล่ห่อคอยื่นหรือไม่ สามารถปรึกษาคลินิกได้
กภ.ธนพร (โบนัส)
Reference
https://www.physio-pedia.com/Upper-Crossed_Syndrome
https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=1985
https://abbottcenter.com/bostonpaintherapy/2009/05/26/rotator-cuff-and-shoulder-pain-5-stretches/
https://www.menshealth.com/fitness/a28723564/pullup-training-workout/
https://learnmuscles.com/glossary/upper-trapezius-stretching-2/
https://markgibsonphysio.com/2017/12/31/a-scapula-retraction/
การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด
ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย
อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก
วิธีประคบที่เหมาะสม อาจใช้เจลสำหรับประคบเย็นแบบสำเร็จรูปหรือทำถุงน้ำแข็งขึ้นใช้เอง โดยใช้ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ เติมน้ำเปล่าผสมน้ำแข็งในสัดส่วนที่เท่ากัน นำผ้ามาหุ้มอีกชั้น ตรวจสอบว่าไม่เย็นเกินไปโดยการนำมาประคบผิวหนัง ถ้าบริเวณที่มีอาการเป็นบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้า อาจใช้การแช่ในภาชนะที่บรรจุน้ำเย็นแทน โดยประคบหรือแช่นานประมาณ 10
- 15 นาทีต่อครั้ง จำนวน 2 - 3 ครั้งต่อวัน
การใช้ประคบร้อน เพื่อลดอาการปวด
ประคบอุ่นนั้นสามารถกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเมื่อยล้า และยังส่งผลในการช่วยลดปวดได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง และหากทำควบคู่กับการยืดกล้ามเนื้อจะยิ่งมีประสิทธิภาพในการลดความปวดมากยิ่งขึ้น
อาการที่ควรประคบอุ่น เมื่อมีอาการปวดเมื่อย ปวดตึงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน การนั่งขับรถต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือการยืนติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถประคบอุ่นได้ทุกบริเวณ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ข้อต่อ เช่น คอ-บ่า หลัง ขา เป็นต้น
วิธีประคบอุ่นที่เหมาะสม ประคบอุ่นในระดับความร้อนที่อุ่นสบาย ต้องไม่รู้สึกแสบผิวหรือไม่ร้อนจัดเกินไป เพื่อป้องกันการเกิดผิวหนังไหม้พอง แนะนำประคบครั้ง 15 - 20 นาที วันละ 1 - 2 รอบ
ข้อห้ามและข้อควรระวังในการประคบอุ่น
ไม่ควรประคบอุ่นในบริเวณที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน มีแผลเปิด หรือผิวเป็นผื่น
อุปกรณ์ที่ใช้ในการประคบอุ่น
1. เจลประคบอุ่น หรือถุงน้ำร้อน โดยต้องห่อด้วยผ้าเพื่อให้ได้ความร้อนที่เหมาะสม ข้อดีคือ หาใช้ได้ง่าย ราคาไม่แพง แต่ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้
2. แผ่นประคบอุ่นไฟฟ้า เป็นการประคบอุ่นรูปแบบใหม่ข้อดีคือ สามารถควบคุมระดับความร้อนที่พอเหมาะได้ โดยแผ่นประคบอุ่นไฟฟ้าจะมีความร้อนคงที่ มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ปลอดภัยสูงเพราะสามารถตั้งเวลาใช้งานได้ อายุการใช้งานนานสามารถประคบได้ทั่วถึงทุกส่วน แต่มีราคาสูงกว่าแบบถุงน้ำร้อน
#คอบ่าแข็งตึง #ปวดคอไม่ใช่เรื่องเล่น อาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกคอเสื่อม อาการปวดคอเริ่มต้นจากกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง กระดูกคอเสื่อม กระดูกคอเสื่อมทับเส้นประสาท ไปจนถึงกระดูกคอเสื่อมทับไขสันหลัง จากเรื่องการปวดเมื่อยคอธรรมดาหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คิดได้นะคะ
ด้วยยุคสมัยที่ทำให้เราหลีกหนีไม่พ้น เรื่องของการใช้โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การค้าขายออนไลน์ การนั่งเรียนออนไลน์ การทำงานติดต่อกันออนไลน์ ส่งผลให้กิจกรรมเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดคอ เริ่มที่การมีอิริยาบถไม่ถูกต้อง เช่น
1. นอนหนุนหมอนสูงเกินไป ต่ำเกินไป
2. ก้มหรือเงยหน้านานๆ
3. ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จัดตำแหน่งคอมไม่ถูกต้อง
4. เขียนหนังสืออ่านหนังสือเป็นเวลานานๆ โดยไม่หยุดพัก
5. นั่งขับรถติดต่อกันหลายชั่วโมง
ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการที่เราอยู่ในอิริยาบทไม่ถูกต้องนี้ส่งผลให้มีการเสื่อมสมรรถภาพของกระดูกคอได้ก่อนวัยอันควร ระดับอาการของการปวดคอมีดังนี้:
1. กล้ามเนื้อคออักเสบ คือ ปวดตึงกล้ามเนื้อรอบคอ เมื่อก้มคอเล่นโทรศัพท์ เมื่อนั่งนานๆ พอขยับเปลี่ยนท่าอาการจะดีขึ้น
2. กระดูกคอเสื่อม คือ นั่งทำงานนานๆเริ่มอาการปวดเมื่อยต้นคอ บ่า ไหล่ มีปวดร้าวขึ้นศีรษะ กระบอกตา
3. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทคอ คือ ปวดต้นคอ บ่า ไหล่และชาแปล๊บ ตามแนวเส้นประสาท อ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อต้นแขนหรือมือ เขียนหนังสือไม่ถนัด จับสิ่งของหล่นบ่อย รวมทั้งปวดร้าวจากคอลงไปที่แขน
4. กระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง จะมีอาการเกร็งบริเวณลำตัว แขนและขา การทรงตัวไม่ดี ก้าวสั้น ใช้งานมือได้ไม่ถนัด เดินแล้วล้มบ่อย
หากเริ่มมีอาการดังกล่าวควรจะรีบเข้ามารับการตรวจกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง แพทย์จะทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ, การทรงตัวของร่างกาย รวมถึงปฏิกริยาตอบสนองอัตโนมัติของแขนขาเพื่อหาสาเหตุ และวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง และรักษาให้หายอย่างถาวร
วิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีอาการปวดคอ
1. ลดอาการปวดและคลายจุดกดเจ็บของกล้ามเนื้อ
โดยการใช้เครื่อง โฟกัสช็อคเวฟ นวัตกรรมใหม่ล่าสุดซึ่งเป็นคลื่นกระแทก สามารถยิงจุดกดเจ็บให้คลายตัวออกจากกัน ,ใช้อัลตร้าซาวด์บำบัด เป็นพลังงานความร้อนเพิ่มการไหลเวียนเลือดและซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บ ,ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อคลายกล้ามเนื้อ
2. ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ
โดยใช้ high power laser เป็นพลังงานแสงเลเซอร์เพื่อเติมพลังงานให้กับเซลล์ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมให้หายไวขึ้น
3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยนักกายภาพบบำบัดจะเป็นผู้ออกแบบท่าทางให้เหมาะกับบุคคล
4. ปรับพฤติกรรมจัดท่าทางให้เหมาะสมโดยนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้แนะนำ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
#ปวดคอบ่ามานานกายภาพไม่ดีขึ้น #ฉีดยารักษาออฟฟิศซินโดรม ทำกายภาพมาตลอด ใช้ทุกเครื่องมือ มีวิธีการรักษาแบบอื่นไหม คำตอบคือมีวิธีการรักษาอื่นๆอีกหลายวิธีค่ะ ทั้งการฝังเข็มและฉีดยา วันนี้เรามาคุยกันเรื่องการรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการฉีดยาโพรโลเธอราพี Prolotherapy กันค่ะ
โพรโลเธอราพี (Prolotherapy) คืออะไร
Prolotherapy เป็นการฉีดยาด้วยสารประกอบต่างๆรวมกันเช่น น้ำตาลความเข้มข้นสูง,น้ำเกลือบริสุทธิ์,น้ำบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบเล็กๆในบริเวณที่เราฉีดและทำให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมตัวเอง จึงทำให้อาการปวดต่างๆนั้นหายไป ซึ่งจะต่างจากการฉีดยาลดอาการปวดหรือลดอักเสบชนิดต่างๆ แล้วในการฉีดยานั้นทางคลินิกใช้เครื่องอัลตราซาวน์นำการฉีดยาทุกครั้ง เพื่อให้ตรงจุดที่มีความผิดปกติและฉีดแยกชั้นผังพืดได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้ มีประสิทธิภาพ ในการรักษาสูง และ ลดความเสี่ยงของการฉีดไปโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทจึงมีความปลอดภัยที่สูง
การฉีดยาด้วย Prolotherapy ปลอดภัยมากกว่ายาสเตียรอยด์อย่างไร?
การฉีดยาด้วย Prolotherapy จะปลอดภัยมากกว่าเพราะเป็นการรักษาแบบเฉพาะจุดที่มีปัญหาเท่านั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อระบบต่างๆในร่างกาย แต่การฉีดด้วยสเตียรอยด์อาจจะทำให้มีผลเสียต่อบริเวณที่ฉีดนั้นเช่นเส้นเอ็น ผิวกระดูกอ่อน ข้อต่อ และการฉีดยาด้วยสเตียรอยด์จะเป็นแค่การลดการอักเสบที่เกิดขึ้น แต่จะไม่ได้ช่วยซ่อมแซมร่างกาย ซึ่งจะตรงกันข้ามกันการรักษาแบบ Prolotherapy ดังนั้นวิธี Prolotherapy จึงเหมาะสมมากกว่าใน การรักษาโรค office syndrome
ใครบ้างที่จำเป็นต้องฉีดยา
เหมาะสำหรับคนที่รักษาด้วยกายภาพบำบัดแล้วไม่ตอบสนองต่อการรักษาหรือการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ และคนที่ต้องการฟื้นฟูในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งจะทำให้เห็นผลของการรักษาที่ดียิ่งขึ้น
การรักษาโรคต่างๆมีหลากหลายวิธีการ ขึ้นกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้ ฉะนั้นหากมีคำถามอื่นๆเกี่ยวกับอาการปวด สามารถติดต่อคลินิกได้ในช่องทางต่อไปนี้ค่ะ เรายินดีตอบทุกคำถามค่า LINE: https://lin.ee/l9V8X8q
1. สาขาเพชรเกษม
วันจันทร์-ศุกร์เปิด 10.00-20.00น.
วันเสาร์-อาทิตย์เปิด 09.00-18.00น.
ติดต่อคลินิกได้ที่ เบอร์ 061-801-2482 หรือ 062-790-1116
2. สาขาพระราม 2
เปิดทุกวันเวลา 10.00-19.00 น.
ติดต่อคลินิกได้ที่เบอร์ 062-773-1113
ปล.สำหรับพนักงานบริษัททุกท่าน พบคุณหมอสาขาเพชรเกษมอย่าลืมขอใบรับรองแพทย์แนบใบเสร็จรับเงินเพื่อทำเบิกประกันนะค้า
#นั่งทำงานนานๆหรือนั่งไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดอาการปวดตึงกล้ามเนื้อคอบ่าสะบัก หลังสะโพก ขาตามมาได้ ในวันนี้เราจะมาสอนวิธีการออกกำลังกายสำหรับกล้ามเนื้อหลังล่างและสะโพกกันค่ะ
เริ่มจากการยืดกล้ามเนื้อกันก่อน
ท่าที่ 1 : กล้ามเนื้อหลัง โดยนอนราบกับพื้น กอดเข่าชิดอกให้ได้มากที่สุด รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ 15 วินาที 4 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน ทำทีละข้างให้ครบ จากนั้นจึงสลับข้าง
ท่าที่ 2 : กล้ามเนื้อสะโพก โดยนำขาข้างนึงพาดไว้อีกข้าง จากนั้นดึงขาข้างที่ถูกพาดชิดอกให้รู้สึกตึงบริเวณสะโพก แต่ไม่เจ็บ 15 วินาที 4 ครั้ง/รอบ 3 รอบ/วัน
เมื่อเราคลายกล้ามเนื้อโดยการยืดแล้ว ต่อไปควรเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนือ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่จะเกิดตามมาค่ะ
ท่าที่ 3 : กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว หรือท่าแพลง ท่านี้จะได้ทั้งหลังและสะโพกค่ะ
ท่านอนคว่ำ งอแขนตั้งฉากกับพื้น จากนั้นยกลำตัวขึ้นให้ขนานกับพื้น ค้างไว้ 30 วินาที 10 ครั้ง/รอบ ห้ามกลั้นหายใจขณะออกกำลังกายนะคะ
ถ้ามีคำถามเกี่ยวกับอาการที่เป็นหรือท่าออกกำลังกายสามารถส่งข้อความเข้ามาสอบถามได้นะคะ
ในกลุ่มคนที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ เช่น กลุ่มคนออฟฟิศ มักจะมีอาการเหล่านี้ได้บ่อย โดยจะสังเกตเห็นว่าในขณะนั่งทำงาน ลำตัวจะอยู่ห่างจากโต๊ะคอม ทำให้เราต้องเอื้อมมือไปพิมพ์งาน ทำให้แขนเราต้องอยู่ในลักษณะที่กล้ามเนื้อสะบักมีการทำงานเดิมๆซ้ำๆ จนทำให้กล้ามเนื้อมีการหดเกร็งแล้วไม่คลายตัว จนเกิดเป็นจุดเจ็บ (trigger point) ซึ่งส่งผลให้บ้างครั้งมีอาการร้าวลงไปที่แขนและมือได้
และบางรายมีอาการชาฝ่ามือในขณะนั่งทำงาน ซึ่งสาเหตุเกิดจากการจับเม้าส์ เป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ข้อมือถูกกด ซึ่งทำให้เส้นประสาทที่ลอดผ่านข้อมือจะถูกกดไปด้วย ทำให้เรามีอาการชาที่ฝ่ามือได้ โดยลักษณะ อาการจะชานิ้วโป้ง ชี้ กลาง นางครึ่งนิ้ว เรียกว่าภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ
ซึ่งทั้งสองอาการมักจะอาการคล้ายกัน เราสามารถทำการตรวจประเมินด้วยตนเองได้เองง่ายๆ คือให้นำหลังมือทั้งสองข้างชนกันเป็นเวลา 1 นาที ถ้ามีอาการชาบริเวณฝ่ามือ (นิ้วโป้ง ชี้ กลาง นางครึ่งนิ้ว) คือเป็นภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ
- คลื่นกระแทก (Shockwave) : เป็นการส่งผ่านคลื่นกระแทกเข้าไปยังบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดกระบวนการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมา
- เครื่องอัตราซาวน์ (Ultrasound therapy) : ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหรือเนื้อเยื่อ เร่งกระบวนการซ่อมแซม โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ลดอาการปวดเเละการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
- เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (TENS) : เป็นกระแสไฟฟ้ากระตุ้นประสาทผ่านผิวหนังเพื่อช่วยในการลดปวด
- เลเซอร์พลังงานสูง (High power laser therapy) : เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ
- การออกกำลังกาย (Therapeutic exercise)
- ในกลุ่มคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อสะบักอักเสบเรื้อรัง ควรนั่งให้ลำตัวใกล้กับแป้นพิมพ์หรือเม้าส์ โดยให้แขนอยู่ข้างลำตัวไม่เอื้อมแขน และมีแผ่นรองท่อนแขนเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากเกินไป และยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
- ในกลุ่มคนที่มีภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ ควรหาฟองน้ำมารองบริเวณข้อมือเพื่อลดการกดทับเส้นประสาทและยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ
ท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อสะบักอักเสบเรื้อรัง : โดยยกแขนข้างที่มีอาการตั้งฉากกับพื้น จากนั้นใช้แขนอีกข้างคล้องแขนข้างที่มีปัญหา ดึงไปให้ใกล้กับไหล่อีกข้าง รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15 วินาที 4 ครั้งต่อรอบ 3 รอบต่อวัน
ท่ายืดกล้ามเนื้อสำหรับผู้ที่มีภาวะพังผืดทับเส้นประสาทที่มือ : โดยยกแขนข้างที่มีอาการตั้งฉากกับพื้น หงายมือขึ้น จากนั้นกระดกข้อมือลง รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 15 วินาที 4 ครั้งต่อรอบ 3 รอบต่อวัน
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
นั่งทำงานแล้วปวดคอบ่าหรือปวดหลังส่วนล่าง แค่ปรับวิธีการนั่งทำงานก็สามารถทำให้คุณลดอาการปวดเหล่านี้ได้ เรามาดูวิธีการปรับวิธีนั่งทำงานเพื่อลดอาการปวดกันดีกว่า
1. เก้าอี้ทำงานควรเป็นเก้าอี้ที่ปรับระดับได้ โดยการปรับนั้น ควรให้บริเวณข้อศอกของเราอยู่ระดับเดียวกับโต๊ะ ให้มือวางบนคีย์บอร์ดได้ และมีหมอนรองบริเวณหลัง เพื่อลดอาการการเกร็งกล้ามเนื้อบ่า ศอกและหลังส่วนล่าง
2. เท้าควรวางราบไปกับพื้น ถ้าเก้าอี้สูงแล้วเท้าลอย เราควรแก้ไขโดยการหากล่องหรือกระดาษรีมมารองเท้า เพื่อให้เท้าเราวางราบได้
3. ในส่วนของหน้าจอคอม การวางจอนั้นควรห่างจากตัวเรา 1 ช่วงแขน และเทคนิคอีกอย่างหนึ่งคือ ขอบบนสุดของจอ ควรอยู่ระดับสายตาของเรา เราจะได้ไม่ต้องนั่งก้มหรือแหงนขึ้นให้กล้ามเนื้อคอบ่าของเราเกร็ง
4. ตำแหน่งคีย์บอร์ดและเม้าส์ ไม่ควรวางไว้ไกลจากตัวเรา ควรวางให้ใกล้ตัวไว้เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อทำงานหนักมากเกินไป ในกรณีที่เป็นโน้ตบุ๊คเราอาจจะต้องมีคีย์บอร์ด เม้าส์ เสริมขึ้นมาและควรมีแผ่นรองซิลิโคนอยู่บริเวณที่จับเม้าส์ เพื่อป้องกันพังผืดกดทับของเส้นประสาทที่ข้อมือ
ถึงแม้ว่าเราจะจัดวิธีการนั่งทำงานให้ลดอาการปวดแล้วนั้น เราก็อย่าลืมขยับตัว ยืดเส้นสายเพื่อให้กล้ามเนื้อและดวงตาของเราได้ผ่อนคลายบ้าง หลังจากนั่งทำงานไปแล้ว 15-20 นาทีด้วยนะคะ
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
โรคกระดูกคอเสื่อม (Cervical Spondylosis) เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้มากในปัจจุบัน สาเหตุสำคัญคือ เมื่ออายุมากขึ้น ข้อต่อต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างไป เช่น มีการเสื่อมหมอนรองกระดูกสันหลังระดับคอ หมอนรองกระดูกคอยุบ จึงเกิดการเสียดสีกันของกระดูก ทำให้ร่างกายตอบสนองโดยการสร้างหินปูน (Osteophytes) ซึ่งหินปูน ถ้ายื่นไปด้านหลังอาจทำให้ช่องที่เส้นประสาทรอดผ่านแคบลง จนมีการเบียดหรือกดทับประสาทไขสันหลังได้ หรือถ้ายื่นออกไปด้านข้าง ก็จะทำให้เกิดการกดทับของรากประสาทได้
- ถ้ามีการกดทับของรากประสาท จะมีอาการปวด ชาหรือกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง
- ถ้ามีการกดทับของไขสันหลัง อาจจะมีการเสียการทรงตัวและเดินลำบากร่วมด้วย
1. อายุมากกว่า 40 ปี
2. ใช้งานศีรษะในท่าก้ม เงย หรือหมุนคอบ่อยๆ
3. อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานๆ เช่น ทำงานที่ต้องเงยหน้าค้างไว้นานๆเป็นประจำ
4. เกิดอุบัติเหตุ เกิดการกระแทกที่กระดูกสันหลังโดยตรง
5. การเล่นกีฬาที่มีการกระแทก การปะทะกันบ่อยๆ เช่น อเมริกันฟุตบอล หรือการเล่นโยคะในท่าหัวโหม่งพื้นนานๆ
- การทานยา ลดการอักเสบ คลายกล้ามเนื้อ
- การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท
- การทำกายภาพบำบัด (Physical Therapy) เช่น
มีข้อบ่งชี้คือ
- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของระบบประสาทเสื่อมถอยลงอย่างต่อเนื่อง
- ตรวจพบการเสียการทำงานของระบบประสาทไขสันหลังมากขึ้น
- การรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล มีอาการมานานกว่า 6 เดือน
1. ขยับเปลี่ยนท่าทางทุกๆชั่วโมง ไม่นั่งก้มทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ เล่นโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ
2. ฝึกบริหารกล้ามเนื้อต้นคออย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆคอ
3. หลีกเลี่ยงการบิดหมุนคอหรือสะบัดคอบ่อยๆ
4. หากมีอาการปวดต้นคอมากๆ สามารถใส่อุปกรณ์พยุงคอ ได้บ้าง เป็นครั้งคราว โดยทั่วไปไม่แนะนำใส่นานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะหากใส่นานเกินไป จะเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้เนื่องจากกล้ามเนื้อคอไม่มีการขยับ
1. เอียงศีรษะไปด้านซ้ายใช้มือข้างซ้ายจับศีรษะกดลงเบาๆ มืออีกข้างจับขอบเก้าอี้ จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง เมื่อครบแล้วสลับข้าง
2. นั่งตัวตรง มือประสานไว้ที่ท้ายทอย ก้มศีรษะลง ออกแรงดันศีรษะเบาๆ จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
3. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันด้านหลังท้ายทอย ออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ
4. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือประสานกันไว้ที่หน้าผากออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ
5. ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือแนบบนหน้า ดังภาพและออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีรษะให้อยู่กับที่ นับค้างไว้ 1-15 /1ครั้ง โดยทำ 8-10 ครั้ง/รอบ เป็นจำนวน 3 รอบ แล้วจึงเปลี่ยนข้าง
เรารักษาโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ข้อต่อ เอ็นและเส้นประสาท โดยมีทีมแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูร่วมกับทีมนักกายภาพบำบัดดูแลรักษาคนไข้
- มีการใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจดูความผิดปกติเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย
- วิธีการรักษาการฝังเข็มจีน ฝรั่ง
- อัลตราซาวด์นำการฉีดยา
- การใช้เครื่องมือทันสมัยทางกายภาพบำบัดค่ะ
- โดยเน้นการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
เมื่อมองทางด้านข้าง ในผู้ที่มีลักษณะคอตรงปกติ แล้วลากเส้นตรงยาวลงมาจากศรีษะถึงเท้า จะพบว่าเส้นตรงจะผ่าน 4 ส่วนสำคัญดังต่อไปนี้ หลังหู - หัวไหล่ – สะโพก – ตาตุ่มข้อเท้าด้านนอก โดยทั้ง 4 ส่วนจะอยู่ในแนวตรงกันพอดี ดังภาพด้านล่าง
เมื่อมองจากด้านข้าง และลากเส้นตรงลงมาจะพบว่าหลังหูจะอยู่ทางด้านหน้าเส้นตรงที่ลากลงมาจากศรีษะถึงเท้า ดังภาพด้านล่าง
***การตรวจด้วยวิธีนี้ไม่สามารถยืนและหันไปมองกระจกเพื่อสังเกตตัวเองได้ จะต้องมีผู้สังเกตอีกคน หรือใช้วิธีตั้งกล้องถ่ายรูปด้านข้างค่ะ***
หดคอกลับเข้าไปจนหลังหูตรงกับแนวหัวไหล่ (โดยต้องมีคนช่วยสังเกตว่าคอที่หดกลับเข้าไปอยู่ในแนวเดียวกับหัวไหล่หรือไม่) เมื่อตรงแล้วให้หดค้างไว้นับ 1-30 และจำความรู้สึกของการหดคอกลับเข้าไปในแนวตรง เพื่อให้สามรถกะระยะการหดคอโดยไม่ต้องมีผู้ช่วยสังเกต
ถ้าหดคอไปทางด้านหลังมากเกินไปจะสังเกตเห็นว่าแนวของหลังหูจะอยู่หลังหัวไหล่ ดังภาพด้านล่าง
ท่าที่ 1 ยืนตรง (ยังไม่ปรับคอที่ยื่นมาทางด้านหน้า) ชูนิ้วชี้ขึ้นมาทางด้านหน้า โดยให้นิ้วชี้อยู่ติดกับปลายจมูก จากนั้นหดคอหนีนิ้วไปทางด้านหลังโดยให้แนวของหลังหูอยู่ตรงกับหัวไหล่ ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2 ยืนตรง ปรับคอให้อยู่ในแนวตรงปกติ ใช้ฝ่ามือออกแรง (เพียงเล็กน้อย) ต้านศีระให้อยู่กับที่ ทำทั้ง 4 ทิศทาง โดยทำ 8-10 ครั้ง เป็นจำนวน 3 รอบ
***สำหรับใครที่ต้องนั่งทำงานทุกวันลองมาปรับท่าทางการนั่งทำงาน และมายืดเหยียดกล้ามเพื่อคลายความตึง ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ด้านล่างเลยค่ะ
https://www.rehabcareclinic.com/blog/ท-กว-นน-เราน-งทำงานถ-กต-องหร-อย-ง
https://www.rehabcareclinic.com/blog/11-ท-าย-ดกล-ามเน-อในท-ทำงาน-เพ-อคลายความต-ง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
หลังจากปรับท่าทางการนั่งทำงานแล้ว วันนี้มาดูท่ายืดกล้ามเนื้อที่สามารถทำได้ง่ายๆ แม้จะนั่งอยู่บนเก้าอี้ตัวโปรดขณะทำงาน เพื่อผ่อนคลายความตึงกันบ้างนะคะ
1. ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่า
วิธีทำ : เอียงศีรษะไปทางด้านขวา และใช้มือขวากดศีรษะเอียงลงจนรู้สึกตึงที่คอ บ่า ข้างซ้ายระดับปานกลาง แต่ไม่เจ็บ มืออีกข้างจับขอบเก้าอี้ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง แล้วสลับทำอีกข้าง
2. ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่า
วิธีทำ : นั่งตัวตรง หมุนศีรษะไปทางด้านขวา จนรู้สึกตึงที่บ่า แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง แล้วสลับทำอีกข้าง
3. ท่ายืดกล้ามเนื้อคอ
วิธีทำ : นั่งตัวตรง ก้มศีรษะลงด้านหน้า จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วทำสลับโดยเงยศรีษระไปทางด้านหลัง
4. ท่ายืดกล้ามเนื้อแขน
วิธีทำ : นั่งตัวตรง เหยียดแขนไปทางด้านหน้า ข้อศอกเหยียดตรง ใช้มืออีกข้างจับข้อมือคว่ำลง จนรู้สึกตึงบริเวณแขน แต่ไม่เจ็บ
วิธีทำ : ทำสลับโดยใช้มืออีกข้างจับข้อมือให้หงายออก
นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง
5. ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบัก
วิธีทำ : นั่งตัวตรง เหยียดแขนไขว้ไปฝั่งตรงข้าม ใช้แขนอีกข้างงอศอก และออกแรงดึงไปฝั่งตรงข้าม จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
6. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหลัง
วิธีทำ : นั่งตัวตรง ยกแขนขึ้นและงอศอก ใช้มืออีกข้างจับข้อศอกที่งอและดึงไปทางด้านหลัง จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
7. ท่ายืดกล้ามเนื้อหลัง
วิธีทำ : นั่งก้มตัวไปทางด้านหน้า มือทั้ง 2 ข้างเหยียดลงที่พื้น จนรู้สึกตึงหลัง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
8. ท่ายืดกล้ามเนื้อก้น
วิธีทำ : นั่งตัวตรง งอสะโพก งอเข่าเข้าหาลำตัว ใช้มือจับใต้ข้อพับเข่ายึดไว้ จนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
9. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
วิธีทำ : ยืนตัวตรง มืออีกข้างจับเก้าอี้/โต๊ะให้มั่นคง งอเข่าไปทางด้านหลัง ใช้มือจับเท้าดึงไปทางด้านหลัง จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
10. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและกล้ามเนื้อน่อง
วิธีทำ : ยืนตัวตรง ยกขาวางขาเก้าอี้ เข่าเหยียดตรง ปลายเท้ากระดกขึ้น เอื้อมมือมาแตะปลายเท้า จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
11. ท่ายืดกล้ามเนื้อลำตัวด้านข้าง
วิธีทำ : ยืนตัวตรง ยกแขนขึ้น และเอียงตัวไปด้านตรงข้าม จนรู้สึกตึง แต่ไม่เจ็บ นับค้างไว้ 30 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้งแล้วสลับทำอีกข้าง
ท่ายืดกล้ามเนื้อข้างต้นสามารถทำระหว่างพักจากการทำงานเพื่อผ่อนคลายความตึง ความเมื่อยล้า และช่วยพักสายตาจากการทำงานหน้าจอคอมฯอีกด้วย แต่หากมีอาการปวดสามารถติดต่อเพื่อปรึกษาและรักษาอาการปวดได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิก
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare