สำหรับนักกีฬาหรือคนที่ชอบการเล่นกีฬาคงจะหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ ฟุตบอลเป็นหนึ่งในกีฬาที่เป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้โดยง่าย เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต้องใช้ความเร็ว เปลี่ยนทิศทางกะทันหัน และเกิดการปะทะ ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บต่างๆได้ ดังนี้
1. เส้นเอ็นข้อเข่าบาดเจ็บ (Knee ligaments sprain) โดยเส้นเอ็นข้อเข่า(knee ligaments) จะมี 4 เส้น ประกอบไปด้วย
- เอ็นไขว้หน้า (ACL ; Anterior Cruciate Ligament)
- เอ็นไขว้หลัง (PCL ; Posterior Cruciate Ligament)
- เอ็นข้างด้านใน (MCL ; Medial Collateral Ligament)
- เอ็นข้างด้านนอก (LCL ; Lataral Collateral Ligament)
ซึ่งเส้นเอ็นข้อเข่าจะเชื่อมอยู่ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง มีหน้าที่ช่วยรักษาและพยุงความมั่นคงของข้อเข่าไว้ในขณะทำกิจกรรม ซึ่งในกีฬาฟุตบอลที่มีการวิ่ง กระโดด กระแทก เปลี่ยนทิศทางกะทันหัน หรือเกิดการปะทะกัน ซึ่งทำให้ข้อเข่าโดนกระแทกหรือบิดหมุน เกิดแรงกระทำภายในข้อเข่า ส่งผลให้เส้นเอ็นข้อเข่าอาจจะเกิดการอักเสบหรือฉีกขาดได้ โดยจะมีอาการปวดบริเวณเข่า (ขึ้นอยู่กับเส้นเอ้นที่บาดเจ็บ) เข่าบวม รู้สึกเข่าไม่มั่นคง
2. หมอนรองเข่าบาดเจ็บหรือฉีกขาด (Meniscus tear) โดยหมอนรองเข่ามี 2 ส่วน ประกอบไปด้วย
- หมอนรองเข่าด้านใน (Medial meniscus)
- หมอนรองเข่าด้านนอก (Lateral meniscus)
ซึ่งหมอนรองเข่าจะอยู่ภายในข้อเข่า อยู่ระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง มีหน้าที่ช่วยพยุงและรับแรงกระแทกที่เกิดภายในข้อเข่า ป้องกันการเสียดสีกันของกระดูก โดยในกีฬาฟุตบอลที่มีการวิ่ง กระโดด การเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน หรืออุบัติเหตุขณะเล่น ซึ่งทำให้ข้อเข่าเกิดการบิดหมุน เกิดแรงกระทำภายในข้อเข่า ส่งผลให้หมอนรองเข่าบาดเจ็บ อักเสบ หรือฉีกขาดได้ โดยจะมีอาการปวดภายในข้อเข่า เข่าบวม ตึง หรืออาจรู้สึกว่าเข่าล็อกติดๆขัดๆ จะปวดมากขณะลงน้ำหนัก
3. กล้ามเนื้อต้นขาบาดเจ็บ (Muscle strain)
กล้ามเนื้อต้นขานั้นจะมีหลายมัด แต่กล้ามเนื้อที่บาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดคือ กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings) และกล้ามเนื้อขาหนีบ (Groin) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เพิ่มแรงในขณะวิ่งและแรงในการเตะ ซึ่งในบางครั้งหากใช้แรงและเร็วมากเกินไป อาจจะเกิดแรงกระชากต่อกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อถูกยืดและฉีกขาดกะทันหันได้ โดยจะมีอาการปวดบริเวณต้นขาด้านหลังหรือบริเวณขาหนีบ ปวดมากขณะขยับขาหรือเดินลงน้ำหนัก
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถป้องกันได้หากมีการเตรียมตัวที่ดีพอ เช่น ยืดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังเล่นกีฬา มีการ Warm up – Cool down เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วงล่าง สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันและเสื้อผ้าที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนที่เพียงพอ และหากยังมีอาการบาดเจ็บเกิดขึ้น เบื้องต้นแนะนำให้พักและประคบเย็นทันที แต่ถ้าเกิดอุบัติเหตุขณะเล่นแนะนำว่าควรตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจประเมินและรับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเรื้อรัง และทำให้กลับไปเล่นกีฬาได้โดยเร็ว
กภ.ธนพร (ออย)
Reference
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/KBJ/article/download/248045/167992/899052
https://www.orthocarolina.com/media/the-3-big-football-injuries-you-should-know-about
https://www.bupa.co.uk/newsroom/ourviews/common-football-injuries
https://www.physio-pedia.com/Meniscal_Lesions
https://www.physio-pedia.com/Hamstring_Strain
https://www.physio-pedia.com/Category:Knee_Injuries
#ปวดเข่า #เข่าเสื่อมหรือคิดไปเอง #ทำไมข้อเข่ามีเสียง สามารถตรวจโดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์วินิจฉัยเพื่อตรวจดูความผิดปกติ หรือ Ultrasound Diagnosis เทคโนโลยีเพื่อความสามารถ ความละเอียดในการวินิจฉัยโรค หาความผิดปกติของโรคในระบบกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อและเส้นประสาท มีความถูกต้องและแม่นยำสูง
คนไข้เห็นภาพความผิดปกติจากเครื่องอัลตราซาวน์ทันที ทำให้สามารถเข้าใจโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้เมื่อนำมาใช้นำการฉีดยา ทำให้มีความแม่นยำถึง 99% ปลอดภัยและให้ผลการรักษาที่ดี เจ็บน้อย ไม่เสี่ยงโดนจุดที่เป็นอันตรายเช่นการฉีดโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาท
เครื่องอัลตราซาวน์วินิจฉัยสามารถเห็นอะไรได้บ้าง ?
1. ความเสื่อมข้อเข่า
2. กระดูกงอกบริเวณเข่า
3. การอักเสบในข้อเข่า
4. ถุงน้ำหลังข้อพับเข่า
หากพบว่ามีอาการเข่าเสื่อม การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมคือการเพิ่มความหล่อลื่นในข้อเข่า และการกายภาพบำบัดจะช่วยลดอาการปวด ซ่อมแซมและรักษาเนื้อเยื่อในข้อเข่าที่มีการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รู้สึกเจ็บ แน่น บวม และร้อน ในข้อเข่า
สรุป หากมีอาการปวดเข่า เข่ามีเสียง แนะนำตรวจด้วยอัลตราซาวด์ ไม่มีรังสี ปลอดภัย ช่วยหาสาเหตุของอาการปวดเข่าได้ดีกว่า X-Ray เพราะ X-Rayเห็นแต่กระดูก แต่อัลตราซาวด์สามารถเห็นข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก เนื้อเยื้อ หรือกระทั่งถุงน้ำในข้อเข่า ทำให้แพทย์สามารถวินิฉัยโรคอย่างแม่นยำ
และการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเทียมของ Rehab care clinic จะทำการฉีดโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเฉพาะทางด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ใช้ “อัลตราซาวนด์นำวิถีการฉีด” ทำให้น้ำเลี้ยงข้อเทียมสามารถเข้าไปในข้อเข่าได้ตรงจุด ลดโอกาสเกิดการผิดพลาดในการฉีดและไม่มีเลือดออก
“ข้อเข่าเสื่อม” คือภาวะที่กระดูกอ่อนที่ทำหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกภายในข้อเข่าเกิดการสึกหรอและเสื่อมสภาพลง เมื่อผิวของกระดูกอ่อนเสียหายและบางลงเรื่อยๆ กระดูกข้อเข่าทั้งสองจะเสียดสีกันเอง ทำให้รู้สึกปวดเสียวในข้อขณะที่เดินลงน้ำหนักนั่นเอง โดยการเปลี่ยนแปลงของภาวะข้อเข่าเสื่อมไม่สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ แต่สามารถชะลอความเสื่อมได้
มาดูโครงสร้างของข้อเข่าเพื่อให้เข้าใจการทำงานของเข่ามากขึ้น
กระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งจะมาประกบกันเกิดเป็นข้อเข่า และจะมีกระดูกอ่อน (Cartilage) มาหุ้มผิวข้อทั้ง 2 เพื่อไม่ให้กระดูกทั้ง 2 เสียดสีกันจนเจ็บปวดและยังช่วยดูดซับแรงกระแทกของข้อเข่าทั้ง 2 ขณะที่มีการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ภายในข้อเข่ายังมีน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Synovial fluid) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนน้ำมันหล่อลื่นภายในข้อเข่าอีกด้วย
เมื่อกระดูกอ่อนเกิดการเสื่อม ผิวกระดูกต้นขาและหน้าแข้งเสียดสีกัน ทำให้มีอาการปวดเข่าขณะเดินลงน้ำหนัก และเมื่อผิวกระดูกเกิดความเสียหายร่างกายจะสร้างกระดูกงอกขึ้นมาทดแทน (spur) แต่กระดูกงอกเหล่านี้มีลักษณะขรุขระเหมือนหินงอกหินย้อย เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าทำให้กระดูกงอกใหม่ไปเสียดสีกับเนื้อเยื่อรอบข้อเข่าทำให้เกิดอาการปวดตามาได้
นอกจากนี้ผู้ที่เป็นภาวะข้อเข่าเสื่อมจะมีกำลังกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าลดลง ความมั่นคงของข้อเข่าจึงลดลง เมื่อระยะเวลานานขึ้นอาจทำให้ข้อเข่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกิดเป็นเข่าโก่งได้ในที่สุด
ภาพ X ray ข้อเข่าเปรียบเทียบระหว่างข้อเข่าปกติ (ภาพซ้าย) และข้อเข่าเสื่อม (ภาพขวา)
ภาพอัลตราซาวน์ข้อเข่า โดยจะพบว่าระยะห่างระหว่างกระดูกหรือช่องว่างในข้อเข่าลดลง และพบกระดูกที่งอกขึ้นมาใหม่
1. อายุที่มากขึ้นทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย
2. น้ำหนักตัวที่เกินจะเพิ่มแรงกระทำต่อข้อเข่า
3. การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่กระตุ้นให้เข่าเสื่อมเร็วขึ้น เช่น การนั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ ทำให้มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก
4. ผู้หญิงเมื่อหมดประจำเดือน
5. การใช้งานเข่าอย่างผิดวิธี เช่นออกกำลังกายโดยการวิ่งทุกวัน หรือเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดโดยไม่ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา
6. เคยประสบอุบัติเหตุที่เข่าโดยตรง เคยได้รับการผ่าตัดที่เข่า จะทำให้เป็นเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
7. ผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าต์ เป็นต้น
- ปวดเสียวในข้อเข่า โดยเฉพาะข้อเข่าด้านในเมื่อเวลามีการเดินลงน้ำหนัก หรือการเคลื่อนไหว เช่น เดิน ขึ้น-ลงบันได้ นั่งพับเข่า อาการดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ
- มีอาการฝืดขัดเมื่อหยุดพักการใช้ข้อเข่าเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเช้าหลังตื่นนอน
- ข้อเข่าบวม เนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า
- เมื่อขยับข้อเข่าจะมีเสียงดัง ซึ่งเกิดจากการเสียดสีของกระดูก
- เมื่อข้อเข่าเสื่อมเป็นระยะเวลานานจะพบว่าเหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าหลวม ข้อเข่าผิดรูปเกิดภาวะข้อเข่าโก่งทำให้เดินและใช้ชีวิตประจำวันลำบาก
- หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่มีแรงกดที่ข้อเข่า เช่น นั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ นั่งเก้าอี้เตี้ย ไขว้ขา หรือการบิดหมุนเข่า , การขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆโดยไม่จำเป็น , การยกหรือแบกของหนักๆ
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพื่อลดแรงกดและแรงกระแทกที่ข้อเข่า
- หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่ต้องกระโดดหรือใช้ข้อเข่ามาก เช่น บาสเกตบอล การวิ่ง เทนนิส เป็นต้น
- ออกกำลังกายและบริการกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอย่างสม่ำเสมอ โดยการออกกำลังกายที่แนะนำคือ การว่ายน้ำ และการปั่นจักรยาน
( ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการว่ายน้ำในภาวะข้อเข่าเสื่อมได้ที่ https://www.rehabcareclinic.com/blog/ปวดหล-ง-ปวดเข-าออกกำล-งกายในน-ำช-วยได-อย-างไร )
1.ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังและข้อพับเข่า
วิธีทำ นอนหงายหรือนั่งหลังตรง เหยียดเข่าข้างที่จะยืดให้ตรง ใช้ผ้ายาวๆ หรือยางยืดคล้องที่เท้า กระดกข้อเท้าขึ้น และใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงด้านปลายจนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-8 รอบ
2. ยืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
วิธีทำ ยืนตรงมือจับเก้าอี้ งอเข่าข้างที่ต้องการยืดไปทางด้านหลัง หัวเข่าชี้ลงพื้น ใช้มือจับข้อเท้าข้างที่ยืดไปทางด้านหลัง จนรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ ค้างไว้ 10-15 วินาที ทำซ้ำ 5-8 รอบ
3. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่า
วิธีทำ นอนหรือนั่งหลังตรง ใช้ผ้าขนหนูม้วนวางใต้ข้อพับเข่า กดเข่าลงกับผ้า พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ
4. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
วิธีทำ นอนหงายใช้ foam roller หรือ หมอนใบใหญ่วางใต้ข้อพับเข่า เตะขาขึ้นให้เข่าเหยียดตรงช้าๆ พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นวางขาลงที่เดิมช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ
5. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า
วิธีทำ นั่งลำตัวตรงบนเก้าอี้ เท้าทั้ง 2 ข้างวางราบ เข่างอ 90º เตะขาขึ้นเข่าเหยียดตรงช้าๆ พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นวางเท้าลงกับพื้นช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ
6. ท่าออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง
วิธีทำ ยืนตรงมือจับเก้าอี้ เตะขางอเข่าขึ้นไปทางด้านหลังช้าๆ หัวเข่าชี้ลงพื้น จากนั้นวางขาลงกับพื้นช้าๆ ทำซ้ำ 10 ครั้ง จำนวน 3 รอบ
มีทั้งการรักษาโดยไม่ผ่าตัด และการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในที่นี้ขอพูดถึงการรักษาโดยไม่ผ่าตัดนะคะ
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
1. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่า ออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อข้อเข่า เช่นว่ายน้ำ ปั้นจักยานเป็นต้น
2. รับประทานยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบ
3. การทำกายภาพบำบัดเพื่อลดอาการปวด และฝึกกำลังกล้ามเนื้อต้นขา
- การดัดดึงข้อต่อ เพื่อลดอาการปวดและเพิ่มองศาการงอ-เหยียดเข่า (Mobilization)
- การใช้ Ultrasound therapy ช่วยลดอาการปวดและการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ รักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อในชั้นลึก เร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยจะเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
- การใช้ High Power Laser therapy เกิดการกระตุ้นปลายประสาท ยับยั้งกระบวนการปวด ลดอาการปวด บวม และอักเสบ นอกจากนี้เลเซอร์มีผลความร้อน ทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีผลในการนำเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงเซลล์มากขึ้น เร่งการจำกัดของเสีย ช่วยลดการอักเสบ และที่สำคัญเลเซอร์มีจุดเด่นในการปรับพลังงานของเซลล์ (ATP) จากการกระตุ้นการขนส่งออกซิเจน และไมโตรคอนเดรีย ภายในเซลล์ให้รวดเร็วขึ้น ผลจาก ATP ที่มากขึ้นทำให้เซลล์มีการซ่อมแซมฟื้นฟูที่รวดเร็วมากขึ้น
วันนี้แนะกันพอหอมปากหอมคอเกี่ยวกับภาวะข้อเข่าเสื่อม ท่าบริหารสำหรับข้อเข่าเสื่อมและการรักษาไปแล้ว แต่ตอนต่อไปจะขอนำเสนอแนวทางการรักษาทางการแพทย์โดยไม่ต้องผ่าตัดกันบ้างนะคะ แล้วพบกันค่า^^
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
มีรายงานการศึกษาพบว่า ในการเคลื่อนไหวแขน กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว (Core stability muscle) จะทำงานก่อนกล้ามเนื้อแขนเป็นเวลา 30 ms และจะทำงานก่อนกล้ามเนื้อขาเป็นระยะเวลา 110 ms กล่าวคือร่างกายจะสร้างความมั่นคงให้กับกระดูกสันหลังก่อนจะเคลื่อนไหวรยางค์แขนขา
ในผู้ที่มีปัญหาปวดหลังส่วนล่าง หรือ Low back pain กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวจะหดตัวช้า ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลังได้
มีงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดหลัง หรือผู้ที่มีอาการปวดหลังอยู่แล้วช่วยให้กล้ามเนื้อแกนลางลำตัวมั่นคง ไม่บาดเจ็บมากขึ้น และลดอาการปวดลง
1. น้ำช่วยพยุงน้ำหนักร่างกายที่จะกระทำต่อข้อต่อ
2. กระแสน้ำจะรบกวนการทรงตัวขณะอยู่ในน้ำ เป็นการกระตุ้นให้กล้ามทำงาน เพื่อฝึกการทรงตัวขณะอยู่ในน้ำ
3. แรงต้านของน้ำช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ
ในภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้น เกิดจากเจล (Nucleus pulposus) ที่อยู่ในหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทที่อยู่ด้านหลัง แรงดันน้ำจะช่วยดันเจลที่ปลิ้นออกมาทับเส้นประสาทให้กลับเข้าไปในหมอนรองกระดูกสันหลัง
1. การออกกำลังกายในน้ำลดแรงกระทำต่อกระดูกและข้อที่รับน้ำหนัก ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเพิ่ม และลดอาการปวดเข่าได้
2. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อข้อเข่า ข้อสะโพก
3. ขณะออกกำลังกายร่างกายมีการหลั่งสารเอ็นโดรฟิน ทำให้ลดความเครียด และมีความสนุก
- ปั่นจักรยานในน้ำ ฝึกความแข็งแรงของ
- กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
- กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
- ฝึก Balance
โรคข้อเข่าเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป โดยอาการที่พบบ่อยคือ มีเสียงในเข่า ฝืด ตึง ปวดเวลาขึ้นลงบันได นั่งพับเพียบ หรือคุกเข่า โดยผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสี่อมคือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก อายุมาก คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้ที่ใช้งานข้อเข่ามาก เช่นนักกีฬาที่ต้องกระโดด กระแทกหรือบิดเข่า หรือนักวิ่งมาราทอนที่ต้องใช้เข่าติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลายระยะ หากตรวจพบในระยะแรกสามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยเครื่องมืออัลตราซาวน์ หากยังอยู่ในระยะแรกสามารถฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียม (Hyaluronic Acid) เข้าไปจะสามารถลดอาการปวด การฝืดตึง เพิ่มการเคลื่อนไหวและชะลอการผ่าตัดข้อเทียมได้ โดยเฉลี่ยแล้วต้องฉีดยาประมาณ 3 เข็ม โดยเว้นระยะแต่ละเข็ม 1 สัปดาห์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ไม่ต่างจากการฉีดยาทั่วไป อาจมีผลแค่บวมแดง ซึ่งสามารถหายเองได้จากการประคบเย็น ยาไม่มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย และฤทธิ์ของยาจะอยู่ได้ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีขึ้นอยู่กับการดูแลเข่าและความรุนแรงของโรคในแต่ละคน และสามารถฉีดซ้ำได้ตามข้อบ่งชี้ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
รายงานจากมหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า ณ ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคนและมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น โดยผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปีพบได้มากถึง 50% ดังนั้น หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการปวดเข่า เจ็บเข่า ลุกแล้วปวด นั่งแล้วปวด ยืนก็ปวด เดินก็ปวด และไม่ต้องการผ่าตัด เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีล้ำสมัยในการตรวจเช็คโรคได้อย่างละเอียดและแม่นยำ หากพบว่าอาการอยู่ในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาได้ด้วยการไม่ต้องผ่าตัด ดังนั้น ช่วงระยะเวลาที่คุณตัดสินใจไปพบแพทย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในการบอกว่าคุณต้องผ่าตัดหรือไม่ รู้อย่างนี้แล้ว หากพบว่าคนที่คุณรักมีอาการดังกล่าว อย่ารอจนเป็นเยอะ และรีบแนะนำให้ไปพบแพทย์นะคะ
ที่ REHAB CARE CLINIC เรามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและทีมนักกายภาพบำบัดเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยเฉพาะ การวางแผนและประสานงานเป็นทีมสามารถเร่งการฟื้นฟูของคุณให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ลดการปวดอย่างทันทีและมีประสิทธิภาพ โดยมีโปรโมชั่นคอร์สการฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่าเทียมอยู่ที่ 9,900 บาทต่อการฉีด 3 เข็ม หากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ติดต่อสอบถามก่อนได้ที่ REHAB CARE CLINIC 061-801-2482