Skip to main content

เอ็นข้างเข่าอักเสบ

5 สัญญาณอันตราย อาการไหนเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม
Posted: December 20, 2023 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

ข้อเข่าเสื่อม คือ ภาวะข้อเข่าที่มีกระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) สึกกร่อน รวมถึงน้ำไขข้อเข่า (synovial fluid) ที่ช่วยหล่อลื่นข้อเข่าลดลง ทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างผิวข้อจนเกิดกระดูกงอก (osteophyte) เกิดอักเสบและอาการปวดตามมา หากมีอาการเสื่อมมากอาจทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวและการผิดรูปของข้อเข่าได้โดยสัญญาณที่บ่งชี้ถึงโรคข้อเข่าเสื่อม ได้แก่

1. ได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บในเข่า
เกิดเสียงในข้อเข่าเมื่อมีการขยับ เคลื่อนไหวข้อเข่า เกิดจากผิวกระดูกอ่อนบางหรือสึกกร่อน ทำให้ผิวกระดูกเสียดสีกันจนเกิดเสียงดังกร๊อบแกร๊บขึ้น

2. ข้อเข่าฝืดตึงแข็งกว่าปกติ
ข้อเข่าฝืดแข็ง โดยจะเกิดในตอนเช้าหลังตื่นนอน หรือนั่งในท่าเดิมนานๆ เมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ จะรู้สึกข้อเข่า ฝืด ขัด เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง ทำให้การเคลื่อนไหวของเข่าไม่ราบรื่น

3. ปวดเสียวภายในข้อเข่า
เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าลดน้อยลง เมื่อมีการขยับข้อเข่าผิวกระดูกจะเสียดสีกัน และกระดูกงอกจะทิ่มแทงเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อเข่า จึงทำให้เกิดอาการปวดเสียวในเข่า โดยมักปวดมากเวลาเดิน หรือเวลาที่มีการลงน้ำหนัก

4. รู้สึกเมื่อยล้าเข่าง่าย เดินได้ไม่นาน
เกิดจากกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าไม่แข็งแรง บางครั้งอาจพบว่าเข่าข้างที่เมื่อยล้าง่ายมีขนาดกล้ามเนื้อขาเล็กลง เมื่อเปรียบเทียบกับขาอีกข้าง

5. เข่าผิดรูป
หากมีลักษณะ เข่าโก่ง เข่าแอ่น หรือเข่าชนกัน ข้อเข่าหลวมมากขึ้น นับเป็นอาการข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงระหว่างการเดิน การยืน เดินลำบาก และเสี่ยงต่อการล้ม

หากใครมี5 อาการในข้อนี้ร่วมกับอาการปวดเข่าควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและวางแผนการรักษาที่ เหมาะสมรวมทั้งดูแลตนเองไม่ให้อาการรุนแรงมากยิ่งขึ้น

วิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเข่าเสื่อม

5.1 หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้เตี้ย นั่งยอง หรือท่านั่งที่มีการงอเข่าเยอะ ๆ
5.2 เลี่ยงการขึ้นลงบันไดที่มีขั้นสูงๆ มากๆ
5.3 การลดน้ำหนักในกรณีน้ำหนักเกิน
5.4 แนะนำการใช้ไม้เท้าในกรณีที่จำเป็นต้องเดินเยอะ
5.5 เพิ่มการออกกำลังกาย โดยท่าออกกำลังกายที่แนะนำควรเป็นท่าที่ทำแล้วไม่มีอาการเจ็บหรือปวดเพิ่มมากขึ้น

วิธีการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะเข่าเสื่อม

ท่าที่ 1 นอนหงาย ชันขา 2 ข้างขึ้น หนีบหมอนหรือลูกบอลเล็กๆ ระหว่างขา 2 ข้าง จากนั้นยกก้นขึ้นค้างไว้ 5 - 10 วินาทีประมาณ 10 ครั้ง ทำ 1 - 2 รอบต่อวัน

รูปภาพ แสดงวิธีการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะเข่าเสื่อม

ท่าที่ 2 นอนคว่ำ งอเข่าเข้าหาก้น งอค้างไว้5 – 10 วินาทีทำทีละข้าง ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง สลับ 2 ข้าง ท่านี้ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลัง ทำ 1 - 2 รอบ ต่อวัน

รูปภาพ แสดงวิธีการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะเข่าเสื่อม

ท่าที่ 3 นอนหงายเหยียดขาขึ้น สำหรับท่านี้อาจจะต้องมีผ้าหรือเชือกเป็นอุปกรณ์ช่วยในการออกกำลังกาย โดยใช้เชือกหรือผ้าคล้องปลายเท้า ดึงขาขึ้นเหยียดเข่าตรง ให้รู้สึกตึงบริเวณน่อง และต้นขาด้านหลัง (ความรู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ) ค้างไว้10 วินาทีและค่อยๆ วางขาลง ทำซ้ำ 10 – 15 ครั้ง สลับทำทั้ง 2 ข้าง 1 - 2 รอบต่อวัน

รูปภาพ แสดงวิธีการออกกำลังกายเพื่อป้องกันภาวะเข่าเสื่อม

ในกรณีที่มีอาการปวดเข่า แล้วมีปัญหาด้านการทรงตัว น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ หรือปัญหาอื่นๆ แล้วบาดเจ็บหรือมีความกังวล ควรใช้การออกกำลังกายในน้ำ หรือวารีบำบัดภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพราะจะช่วยลดโอกาสการบาดเจ็บ และลดแรงกระแทกบริเวณเข่าขณะออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

ปวดเข่าด้านใน เกิดจากอะไรกันแน่? ตอนที่ 1
Posted: July 14, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย เนื่องจากเข่าเป็นฐานรองรับน้ำหนักของร่างกายและยังใช้เคลื่อนไหวในกิจกรรมส่วนใหญ่ ทั้งการเดิน วิ่ง การนั่งขัดสมาธิ การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ โดยในวันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคต่างๆที่ทำให้เกิดอาการปวดทางด้านในของเข่ากัน

Pes anserine bursitis

Pes anserine bursitis คืออะไร ??

เป็นการอักเสบของถุงน้ำ (Bursa) ที่อยู่ระหว่างกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อขาทั้ง 3 มัดหรือ Pes anserinus นั่นเอง โดยตัวถุงน้ำนี้จะทำหน้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกและลดแรงเสียดทานขณะเคลื่อนไหว เมื่อมีการเสียดสีของถุงน้ำกับโครงสร้างอื่นๆโดยรอบมากเกินไปจึงเกิดการอักเสบขึ้น เรียกว่า Bursitis 

Pes anserine bursitis คืออะไร ??

หลังจากรู้จักเจ้าถุงน้ำสาเหตุหลักของปัญหาเรากันแล้วก็มาดูที่โครงสร้างอื่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบกันเถอะ

Pes anserine เป็นชื่อเรียกจุดเกาะของกล้ามเนื้อต้นขา 3 มัด ได้แก่ Sartorius, Gracilis และ Semitendinosus ซึ่งหน้าที่โดยหลักของกล้ามเนื้อเหล่านี้ คือ การงอเข่าและหมุนขาเข้าด้านใน (Knee flexion and tibial internal rotation)

 Pes anserine


สาเหตุของโรค Pes anserine bursitis

1. การใช้งานเข่าอย่างหนักและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้งานกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการงอเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ Pes anserine bursa มากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดการอักเสบได้

2. การได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าหรือแรงกระแทกโดยตรงที่บริเวณเข่าด้านใน

3. ขาดการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนการวิ่งหรือการออกกำลังกาย 

4. ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมหรือภาวะเข่าบิดเข้าด้านใน (Knock knee) มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคนี้ได้


อาการของโรค Pes anserine bursitis

- มีอาการปวดบริเวณเข่าด้านในตอนใช้งาน โดยจะปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อขึ้นหรือลงบันได

- พบจุดกดเจ็บบริเวณจุดเกาะของกล้ามเนื้อ pes anserine ที่มีถุงน้ำอยู่ใต้ต่อ ซึ่งจะคลำได้ตรงด้านในส่วนต้นของกระดูก tibia ต่ำกว่าแนวข้อเข่าลงมาเล็กน้อย 

- ในรายที่เพิ่งเริ่มมีอาการอาจมีบวม แดง ร้อนบริเวณเข่าด้านในร่วมด้วย

- ในบางราย อาจมีกำลังกล้ามเนื้อที่ลดลง มีองศาการเคลื่อนไหวที่ลดลง หรือมีรูปแบบการเดินที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติได้


วิธีการดูแลรักษาต้นเองเบื้องต้น

- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อเข่าด้านใน แนะนำให้พักการใช้งานเข่าข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่นการขึ้นลงบันได การวิ่ง และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 -20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้

วิธีการดูแลรักษาต้นเองเบื้องต้น


ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาในผู้ที่มีอาการปวดเข่าด้านใน

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง 

วิธียืด : นอนหงาย คลองยางยืดหรือผ้าไว้บริเวณใต้ส้นเท้า ยกขาขึ้นจนถึงระดับที่รู้สึกตึงบริเวณด้านหลังของขา โดยที่เข่ายังเหยียดตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

2. ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา  

วิธียืด : ยืนตรง งอเข่าข้างที่ต้องการยืดขึ้นพร้อมใช้มือช่วยในการเหยียดสะโพกไปด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกตึง ดังรูป ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา

3. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน 

วิธียืด : นั่งขัดสมาธิโดยนำปลายเท้าทั้งสองข้างชนกัน ดันปลายเท้าเข้าชิดกับลำตัวจนรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านใน วางศอกลงบนต้นขาและดันลงพร้อมกับโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อยโดยที่หลังยังตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน

4. ท่าออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา 

วิธีทำ : นั่งเก้าอี้ เตะขาขึ้นช้าๆจนเข่าเหยียดตรง เกร็งหน้าขาค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต 

ท่าออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา

5. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพก 

วิธีทำ : นอนตะแคง พร้อมงอเข่าทั้งสองข้าง เปิดขากางสะโพกออกประมาณ 90 องศา ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต 

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพก

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare

วิ่งแล้วเจ็บเข่าด้านข้าง...เอ็นข้างเข่าอักเสบ
Posted: July 13, 2021 By: adminrehabcare2Categories: Comment:  0

เอ็นข้างเข่าอักเสบ หรือ Iiotibial Band syndrome (ITB syndrome) โรคที่พบมากเป็นอันดับต้นๆในนักวิ่งหรือกลุ่มคนชอบวิ่ง
เรามาทำความรู้จักกล้ามเนื้อและโครงสร้างที่มีปัญหากันสักเล็กน้อยนะคะ

ITBS

IT band (iliotibial band) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความหนามาก เกาะตั้งแต่สะโพกส่วนบนลงมาถึงบริเวณด้านข้างของหัวเข่า โดย ITB จะเชื่อมต่อกับ TFL ,Gluteus maximus , Gluteus medius,Hamstring และ Quadriceps ด้านข้าง

Tensor fasciae latae (TFL) เป็นกล้ามเนื้อทางด้านข้างของสะโพก เกาะอยู่ที่ส่วนหน้าของกระดูกเชิงกรานทำหน้าที่กางและหมุนขาเข้าด้านใน

Gluteus maximus ทำหน้าที่เหยียดขา กางต้นขา หมุนต้นขา ไปทางด้านข้าง 

Gluteus medius มีหน้าที่สำคัญในการกางสะโพก และช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่ข้อสะโพก


เพราะอะไรทำไมวิ่งแล้วเจ็บด้านข้างเข่า

- กล้ามเนื้อ Gluteus medius ที่ทำหน้าที่กางสะโพก ไม่แข็งแรง  จากรูป ภาพ B เมื่อยืนบนขาข้างเดียว กระดูกเชิงกรานด้านขาที่ยกขึ้นจะลดต่ำลง ลำตัวก็จะเอียงออกจากขาที่ยืนอยู่ และแรงที่พื้นกระทำต่อเราจะผ่านด้านในข้อเข่ามากขึ้น ซึ่งจะทำให้เอ็นข้างต้นขา (iliotibial band) ทำงานมากขึ้น และเพิ่มแรงกดด้านในข้อเข่าด้วย ทำให้เกิดการวิ่งไขว้ขา (จากงานวิจัยพบว่า นักวิ่งที่มีปัญหาเอ็นข้างเข่าอักเสบ เวลาวิ่งขาจะมีการเฉียงเข้าด้านในมากกว่า ก็คือการวิ่งไขว้ขานั่นเอง) 

เพราะอะไรทำไมวิ่งแล้วเจ็บด้านข้างเข่า

- การเคลื่อนไหวของขาที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อวิ่ง แล้วมีการหมุนข้อเข่า หรือปลายเท้าเข้าด้านใน

การเคลื่อนไหวของขาที่ไม่ถูกต้อง


เมื่อเป็นแล้วมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้าง?

- หากมีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบเย็นบริเวณเข่าด้านนอก 15-20 นาที ร่วมกับพักการใช้งาน

- หากเป็นมานาน และไม่มีอาการบวมแดงร้อน ให้ประคบอุ่นบริเวณด้านข้างต้นขาและเข่า 15-20 นาที แล้วยืดกล้ามเนื้อ

การฉีดยา (Prolotherapy Injection) คือฉีดกลูโคสเข้าไปที่บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการอักเสบ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมเร่งกระบวนการฟื้นฟูและรักษาตามธรรมชาติ โดยจะใช้เครื่องอัลตราซาวน์ในการนำการฉีดยา เพิ่มความปลอดภัยและแม่นยำในการฉีด และลดความเสี่ยงการฉีดไปโดนเส้นประสาท

การฉีดยา Prolotherapy Injection

การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาจากต้นเหตุของปัญหา แก้ไขโครงสร้างกระดูกกล้ามเนื้อที่เป็นปัญหาโดยตรง ฟื้นฟูให้คุณกลับมาทำกิจวัตรประจำวันหรือเล่นกีฬาได้อย่างปลอดภัยและไร้อาการเจ็บ ปัจจุบันวิธีการรักษาทางกายภาพบำบัดก้าวล้ำไปมาก มีทั้งเทคนิควิธีการรักษาที่ทันสมัยและเทคโนโลยีที่คุณภาพสูง

การใช้ Therapeutic ultrasound เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ โดยการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด นำออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้ในขบวนการซ่อมแซมมาให้กับเนื้อเยื่อเหล่านี้ คุณจะเห็นถึงผลต่างทันทีหลังการรักษา

การใช้ Therapeutic ultrasound

การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยลดปวด โดยกระตุ้นให้ไมโตรคอนเดรียซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์เนื้อเยื่อทำงานได้อย่างประสิทธิภาพในการซ่อมตัวเองเร็วยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเนื้อเยื่อที่มีน้ำหรือเลือดมาเลี้ยงน้อย อาทิเช่น เอ็นข้อต่อ เอ็นกล้ามเนื้อ ในร่างกาย

การใช้ High Power LASER therapy เข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม


การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อที่มีปัญหา

คลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ตึง ด้วย Foam Roller  ทำ10-15 ครั้ง
***แต่ไม่ควรกลิ้งโฟมบนบริเวณที่มีอาการเจ็บโดยตรง

คลายกล้ามเนื้อบริเวณที่ตึง ด้วยFoam Roller

นอนหงาย เหยียดเข่าทั้ง 2 ข้าง ยกขาขึ้นค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ

นอนหงาย เหยียดเข่าทั้ง 2 ข้างยกขาขึ้นค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลงช้าๆ

นอนหงาย งอเข่า 45 องศา และรัดยางยืดไว้เหนือเข่า ค่อยๆกางสะโพกออก ค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลงช้าๆ ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ

นอนหงาย งอเข่า 45 องศา และรัดยางยืดไว้เหนือเข่า ค่อยๆกางสะโพกออก ค้างไว้ 3 วินาที แล้ววางลง

ยืนกางขาเล็กน้อย ย่อเข่า ตัวตรง และสวมยางยืดไว้เหนือเข่า แล้วค่อยๆก้าวออกไปด้านข้าง แล้วค้างไว้ 3 วินาที แล้วหุบขากลับมาท่าเริ่มต้น ทำ 15 ครั้ง 3 รอบ

ยืนกางขาเล็กน้อย ย่อเข่า ตัวตรง และสวมยางยืดไว้เหนือเข่าแล้วค่อยๆก้าวออกไปด้านข้าง แล้วค้างไว้ 3 วินาที แล้วหุบขากลับมาท่าเริ่มต้น

อาการบาดเจ็บ อย่าปล่อยไว้นาน อย่าคิดว่ามันคงไม่เป็นอะไรหรอก จริงๆแล้วยิ่งปล่อยไว้นานการรักษาจะยากและค่อนข้างใช้เวลานาน กว่าจะดีขึ้น ช้าไปร่างกายส่วนอื่นจะพังไปด้วยนะจ๊ะ ^^

 

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง  

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare