Skip to main content

ปวดเข่าด้านใน เกิดจากอะไรกันแน่? ตอนที่ 1

ปวดเข่าด้านใน เกิดจากอะไรกันแน่? ตอนที่ 1
Posted: July 14, 2021 By: adminrehabcare2Categories: ปวดเข่าComment:  0

อาการปวดเข่าเป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกช่วงวัย เนื่องจากเข่าเป็นฐานรองรับน้ำหนักของร่างกายและยังใช้เคลื่อนไหวในกิจกรรมส่วนใหญ่ ทั้งการเดิน วิ่ง การนั่งขัดสมาธิ การเล่นกีฬาชนิดต่างๆ โดยในวันนี้แอดมินจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคต่างๆที่ทำให้เกิดอาการปวดทางด้านในของเข่ากัน

Pes anserine bursitis

Pes anserine bursitis คืออะไร ??

เป็นการอักเสบของถุงน้ำ (Bursa) ที่อยู่ระหว่างกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) และเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อขาทั้ง 3 มัดหรือ Pes anserinus นั่นเอง โดยตัวถุงน้ำนี้จะทำหน้าที่ช่วยรองรับแรงกระแทกและลดแรงเสียดทานขณะเคลื่อนไหว เมื่อมีการเสียดสีของถุงน้ำกับโครงสร้างอื่นๆโดยรอบมากเกินไปจึงเกิดการอักเสบขึ้น เรียกว่า Bursitis 

Pes anserine bursitis คืออะไร ??

หลังจากรู้จักเจ้าถุงน้ำสาเหตุหลักของปัญหาเรากันแล้วก็มาดูที่โครงสร้างอื่นซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบกันเถอะ

Pes anserine เป็นชื่อเรียกจุดเกาะของกล้ามเนื้อต้นขา 3 มัด ได้แก่ Sartorius, Gracilis และ Semitendinosus ซึ่งหน้าที่โดยหลักของกล้ามเนื้อเหล่านี้ คือ การงอเข่าและหมุนขาเข้าด้านใน (Knee flexion and tibial internal rotation)

 Pes anserine


สาเหตุของโรค Pes anserine bursitis

1. การใช้งานเข่าอย่างหนักและต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้งานกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการงอเข่า ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียดสีที่ Pes anserine bursa มากยิ่งขึ้นส่งผลให้เกิดการอักเสบได้

2. การได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าหรือแรงกระแทกโดยตรงที่บริเวณเข่าด้านใน

3. ขาดการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมก่อนการวิ่งหรือการออกกำลังกาย 

4. ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมหรือภาวะเข่าบิดเข้าด้านใน (Knock knee) มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดโรคนี้ได้


อาการของโรค Pes anserine bursitis

- มีอาการปวดบริเวณเข่าด้านในตอนใช้งาน โดยจะปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อขึ้นหรือลงบันได

- พบจุดกดเจ็บบริเวณจุดเกาะของกล้ามเนื้อ pes anserine ที่มีถุงน้ำอยู่ใต้ต่อ ซึ่งจะคลำได้ตรงด้านในส่วนต้นของกระดูก tibia ต่ำกว่าแนวข้อเข่าลงมาเล็กน้อย 

- ในรายที่เพิ่งเริ่มมีอาการอาจมีบวม แดง ร้อนบริเวณเข่าด้านในร่วมด้วย

- ในบางราย อาจมีกำลังกล้ามเนื้อที่ลดลง มีองศาการเคลื่อนไหวที่ลดลง หรือมีรูปแบบการเดินที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติได้


วิธีการดูแลรักษาต้นเองเบื้องต้น

- ในระยะแรก หากยังมีอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อเข่าด้านใน แนะนำให้พักการใช้งานเข่าข้างที่มีอาการ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่นการขึ้นลงบันได การวิ่ง และประคบเย็นบริเวณที่มีอาการปวดประมาณ15 -20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวดและบวมได้

วิธีการดูแลรักษาต้นเองเบื้องต้น


ท่าบริหารกล้ามเนื้อต้นขาในผู้ที่มีอาการปวดเข่าด้านใน

1. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง 

วิธียืด : นอนหงาย คลองยางยืดหรือผ้าไว้บริเวณใต้ส้นเท้า ยกขาขึ้นจนถึงระดับที่รู้สึกตึงบริเวณด้านหลังของขา โดยที่เข่ายังเหยียดตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง

2. ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา  

วิธียืด : ยืนตรง งอเข่าข้างที่ต้องการยืดขึ้นพร้อมใช้มือช่วยในการเหยียดสะโพกไปด้านหลังจนถึงจุดที่รู้สึกตึง ดังรูป ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อหน้าขา

3. ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน 

วิธียืด : นั่งขัดสมาธิโดยนำปลายเท้าทั้งสองข้างชนกัน ดันปลายเท้าเข้าชิดกับลำตัวจนรู้สึกตึงบริเวณต้นขาด้านใน วางศอกลงบนต้นขาและดันลงพร้อมกับโน้มตัวมาด้านหน้าเล็กน้อยโดยที่หลังยังตรงอยู่ ยืดค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 3-5 ครั้ง

ท่ายืดกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน

4. ท่าออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา 

วิธีทำ : นั่งเก้าอี้ เตะขาขึ้นช้าๆจนเข่าเหยียดตรง เกร็งหน้าขาค้างไว้ 10 วินาที ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต 

ท่าออกกำลังกายเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา

5. ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพก 

วิธีทำ : นอนตะแคง พร้อมงอเข่าทั้งสองข้าง เปิดขากางสะโพกออกประมาณ 90 องศา ทำทั้งหมด 10 ครั้ง 3 เซต 

ท่าออกกำลังกายกล้ามเนื้อสะโพก

สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัดเฉพาะทาง

สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"

ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare