ภาวะข้อไหล่ติด คือ ภาวะที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ พิสัยการเคลื่อนไหวข้อไหล่ลดลงทั้งแบบขยับเองและผู้อื่นขยับให้ โดยปกติเป็นโรคที่สามารถหายได้ แต่ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ส่วนใหญ่คนไข้มักจะทนอาการปวดไม่ได้โดยเฉพาะอาการปวดตอนกลางคืน
ภาวะไหล่ติดจะแบ่งได้ 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะปวด เป็นระยะที่มีอาการปวดมาก แม้มีการขยับไหล่เพียงเล็กน้อย อาการปวดจะค่อยๆเพิ่มขึ้น พิสัยการเคลื่อนไหวไหล่จะน้อยลง ระยะนี้เป็นได้นาน 6 สัปดาห์ถึง 9 เดือน
2. ระยะข้อไหล่ติด อาการปวดค่อยๆ ลดลง แต่ไหล่จะติดมากขึ้น พิสัยการขยับลดลงชัดเจน ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 4-9 เดือน
3. ระยะฟื้นตัว อาการของไหล่ติดจะค่อยๆ ดีขึ้น พิสัยการขยับทำได้มากขึ้น ระยะนี้อาจใช้เวลานาน 6 เดือน ถึง 2 ปี
ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นข้อไหล่ติด
ภาวะไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชาย แต่มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ในช่วงอายุประมาณ 40-60 ปี ในบางรายเกิดจากโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งพบได้ถึงร้อยละ 20 แต่ที่พบได้บ่อยคือ สาเหตุของการเกิดที่ไม่ทราบแน่ชัด แต่โดยส่วนใหญ่มักเริ่มจากการเจ็บไหล่ อุบัติเหตุบริเวณไหล่ เส้นเอ็นไหล่อักเสบ หรือเยื่อหุ้มข้อไหล่อักเสบจนหนาตัวขึ้นจนทำให้ขยับข้อไหล่ได้น้อยลง
การรักษาในผู้ที่ข้อไหล่ติด
แม้ว่าภาวะไหล่ติดจะสามารถหายได้เอง แต่การรักษาจะช่วยให้คนไข้ไม่ทรมานกับอาการปวด และช่วยเร่งการฟื้นตัวมากขึ้นได้ ซึ่งการรักษาของรีแฮปแคร์คลินิกนั้นมีได้หลายแนวทาง ได้แก่
1. กายภาพบำบัด โดยใช้เครื่องมือในการลดอาการปวดและอักเสบ เร่งกระบวนการฟื้นตัว เช่น โปรแกรม Focus shockwave, โปรแกรม High power laser เป็นต้น รวมถึงการออกกำลังการและการดัดข้อไหล่เพื่อเพิ่มพิสัยการขยับไหล่ให้มากขึ้น
2. การฉีดยา โดยแพทย์เฉพาะทางและนำฉีดด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อให้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพการรักษาที่ดี หรือกลุ่มสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ สำหรับผู้ที่ปวดมาก หรือการฉีดกลูโคสความเข้มข้นสูง (prolotherapy) เพื่อขยายข้อไหล่ให้มีการขยับไหล่ได้ดีขึ้น ซึ่งการฉีดยาจะช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำกายภาพบำบัดได้มากขึ้น
หากกำลังเริ่มมีอาการปวดไหล่ ขยับข้อไหล่ได้ไม่สุด หรือทำกิจวัตรประจำวันต่างๆได้น้อยลงจากการปวดไหล่ แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
กภ.อารยา (มะปราง)
Reference
Medically Reviewed by Jabeen Begum, MD on November 07, 2023 Written by WebMD Editorial Contributor, Jennifer Walker-Journey
Shoulder Elbow. 2017 Apr; 9(2): 75–84. Published online 2016 Nov 7. doi: 10.1177/1758573216676786
- ช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ กระตุ้นให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
- บรรเทาอาการปวดด้วยทฤษฎี Gate Control Theory
- ลดอาการข้อติดเเข็ง เพิ่มองศสการเคลื่อนไหวของข้อต่อ
- มีอาการปวดตึงของกล้ามเนื้อ ข้อติด ปวดท้องประจำเดือน
- อาการปวดเรื้อรัง
- หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48-72 ชม. ภายหลังจากประคบเย็นแล้ว
- ประคบนานครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
- ลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ
- ลดการไหลเวียนของเลือดเมื่อเกิดการบาดเจ็บ
- ลดการอักเสบ อาการบวม
- ลดอาการปวด
- หลังจากมีอาการบาดเจ็บทางกีฬาทันที
- ปวดศรีษะ ไมเกรน
- อาการปวดเฉียบพลัน ข้อเท้าแพลง
- ประคบเย็นทันทีภายใน 24-48 ชม.
- ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง
- ความรู้สึกเมื่อประคบอุ่นคืออุ่นสบาย ไม่ร้อน
- ความรู้สึกเมื่อประคบเย็นคือ เย็นสบาย
- ไม่ประคบอุ่น/เย็นบริเวณที่มีแผลเปิด เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ระหว่างการประคบอุ่น/เย็น ควรตรวจสอบผิวหนังบริเวณที่ประคบว่ามีอาการไหม้จากความร้อน/เย็น (Burn)
- ใช้ผ้าขนหนูสะอาดห่ออุปกรณ์ที่จะนำมาประคบก่อน
- พักระหว่างประคบอุ่น/เย็นในแต่ละครั้งประมาณ 1-2 ชม.
สามารถติดต่อเพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัด
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
ตะคริว คือ การหดเกร็งของกล้ามเนื้อโดยไม่สามารถควบคุมด้วยอำนาจจิตใจ(involuntary)ได้ชั่วคราวของกล้ามเนื้อทั้งมัด ทำให้เป็นก้อนหรือเป็นลูก โดยจะมีอาการเจ็บปวดมากและไม่สามารถขยับได้
"EAMC" หรือ Exercise Associated Muscle Cramps คือตะคริวที่เกิดจากการออกกำลังกายจะมีความแตกต่างกับตะคริวที่เกิดจากการขาดน้ำ หรือเกลือแร่ โดยจากงานวิจัยพบว่าการขาดน้ำและขาดเกลือแร่ นั้นไม่มีผลต่อการเกิดตะคริวโดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลของนักวิ่งระยะไกล (Ultra Marathon)ในช่วงที่มีแข่งขัน
1. กล้ามเนื้อน่อง(calf muscle)
2. กล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps & Hamstring muscle)
3. กล้ามเนื้อหน้าท้อง (Abdominal muscle) อาจจะพบได้ในนักกีฬาว่ายน้ำ
1. "เพศชาย" มีโอกาสเป็นตะคริวได้มากกว่า "เพศหญิง"
2. นักกีฬารุ่นอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเป็นตะคริวได้ง่ายกว่า
3. คนตัวสูงยาวจะมีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่ายกว่าคนตัวสั้นเล็ก เพราะการเปลี่ยนแปลงความยาวของท่อนกล้ามเนื้อในช่วงยืดตัวสูงสุดและหดตัวสั้นสุดมีความแตกต่างมาก
4. ระดับการออกแรง (intensity) และระยะเวลาที่ออกกำลังกาย (duration)ออกแรงมากกว่า และการออกกำลังกายนาน ๆ มีโอกาสเสี่ยงที่ทำให้เกิดตะคริวเพิ่มขึ้น
5. ประวัติการบาดเจ็บ กลุ่มนักกีฬาที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ มีประวัติการบาดเจ็บเส้นเอ็นข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่ต้องเคลื่อนไหวและเกิดตะคริว นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่าการบาดเจ็บในเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับมัดกล้ามเนื้อมีส่วนกระตุ้นให้ไขสันหลังต้องส่งสัญญาณอัลฟ่าเพิ่มมากขึ้นจึงมีความอ่อนไหวต่อการเกิดตะคริว
- Warm – up และ Cool - down การอบอุ่นร่างกาย รวมทั้งการยืดกล้ามเนื้อ (Muscle Stretching) ทุกครั้งก่อนและหลังออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
- หมั่นฝึกซ้อมให้สม่ำเสมอ และต้องพยายามเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยเป็นตะคริว เพราะการมีกล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น อาการล้า (Fatigue) ก็เกิดช้าลง โอกาสเกิดตะคริวก็น้อยลงไปด้วย
- การแต่งกายในการออกกำลังกาย/เล่นกีฬา หากเคยมีปัญหาเรื่องกล้ามเนื้อเป็นตะคริวโดยเฉพาะระหว่างกล้ามเนื้อน่อง ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่ยาวจนถึงใต้ข้อเข่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงเท้าที่ยิ่งคับรัดแน่น จะยิ่งทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย เพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อน่องลดน้อยลงไป ซึ่งจะทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย
นั่นก็เพราะว่า การเกิดตะคริวมักจะเกิดในช่วงที่กล้ามเนื้อถูกหดสั้น และการส่งสัญญาณคลายกล้ามเนื้อจากเส้นเอ็นกอลจิ (Golgi tendon organ) เกิดความผิดพลาด ทำให้ระบบยืดกล้ามเนื้อโดยอัตโนมัติของร่างกายเราไม่ทำงาน การยืดกล้ามเนื้อจึงเป็นการจัดระเบียบเส้นเอ็นกอลจิให้กลับมาทำงานได้เหมือนเดิม
ท่าที่ 1 ยืนหันหน้าเข้ากำแพง เหยียดเข่าข้างที่ปวดไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้งอเข่าเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 1-15 แล้วปล่อย ทำซ้ำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 2 ยืนหันหน้าเข้ากำแพง งอเข่าข้างที่ปวดไปด้านหลัง ฝ่าเท้าราบติดกับพื้น ส่วนขาอีกข้างให้งอเข่าเล็กน้อย ทำค้างไว้นับ 1-15 แล้วปล่อย ทำซ้ำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 3 นอนหงาย ยกขาข้างใดข้างหนึ่งขึ้น พยายามเหยียดเข่า และกระดกปลายเท้าขึ้น ให้รู้สึกตึงๆแต่ไม่เจ็บบริเวณต้นขาด้านหลัง ทำค้างไว้นับ 1-15 แล้วปล่อย ทำซ้ำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 4 ยืนลำตัวตรง งอเข่าข้างใดข้างหนึ่ง ไปด้านหลัง มือจับบริเวณข้อเท้า ให้เข่าชี้ลงไปที่พื้น ให้รู้สึกตึงๆแต่ไม่เจ็บบริเวณต้นขาด้านหลัง ทำค้างไว้นับ 1-15 แล้วปล่อย ทำซ้ำ 3-5 รอบ แล้วสลับข้าง
หากมีข้อสงสัยสามารถปรึกษากับทางรีแฮปแคร์คลินิกได้โดยตรง โดยทางคลินิกมีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และนักกายภาพบำบัด คอยแนะนำให้คำปรึกษาได้ตลอด
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
การบาดเจ็บทางกีฬาเกิดขึ้นได้หลายแบบ เมื่อออกำลังกายไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้เล่น แต่เมื่อเกิดการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรงขึ้นแล้ว จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้วิธีการดูแลจัดการตนเองเบื้องต้นเพื่อลดอาการปวด การอักเสบ
สัญลักษณ์ของการอักเสบที่สามารถสังเกตได้ คือ ปวด บวม แดง ร้อน
R = Rest : พัก
คือ เมื่อมีการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ส่วนใด ให้พักส่วนนั้นทันที คือ หยุดเล่นกีฬา ไม่ฝืนเล่นต่อ
I = Ice : น้ำแข็ง
ใช้น้ำแข็งประคบส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ ความเย็นจะช่วยลดอาการบวมและความปวด การประคบน้ำแข็งควรทำทันทีหลังเกิดอาการบาดเจ็บ ทำครั้งละ 20 นาที วันละ 4-8 ครั้ง ภายใน 48 ชม.
C = Compression : รัด
คือ การพันกระชับส่วนที่บาดเจ็บไว้ไม่ให้บวมเพิ่มมากขึ้น ด้วยผ้ายืดโดยไม่รัดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้ส่วนปลายที่พันไว้บวม โดยพันผ้ายืดจากส่วนปลายขึ้นมาหาส่วนต้น และสังเกตดูการไหลเวียนเลือดที่บริเวณส่วนปลายหลังจากพันจะต้องไม่มีสีม่วงหรือคล้ำ
E = Elevation : ยกสูง
ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลลงได้สะดวก ช่วยลดอาการบวม
ยกตัวอย่าง เคสเล่นบาสเกตบอล ขณะวิ่งมีอาการปวดน่องขวาในทันที จึงหยุดเล่น ทราบสาเหตุว่าก่อนการเล่นยืดกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ
หลัก RICE จากสถาการณ์ข้างต้น
Rest : หยุดเล่นกีฬาทันที
Ice : ประคบเย็นที่บริเวณน่อง
Compression : ใช้ผ้ายืดพันน่องจากส่วนปลายสู่ส่วนต้น
Elevation : ยกขาสูงเพื่อการไหลเวียนเลือด
***ในระยะแรกไม่ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ แต่สามารถออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง***
หากอาการปวดไม่ดีขึ้นสามารถติดต่อเพื่อปรึกษาและรักษาอาการปวดได้กับทางรีแฮปแคร์คลินิกโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นและนักกายภาพบำบัด
สอบถามเพิ่มเติมที่ "รีแฮป แคร์ คลินิก"
ที่อยู่ : 423 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กทม. (อยู่ในศูนย์กีฬากันอริ ก่อนถึงซีคอนบางแค) ? 061-801-2482 Line ID : @rehabcare
หมอเวชศาสตร์ฟื้นฟูคืออะไร? เหมือนนักกายภาพไหม? แล้วนักกายภาพเหมือนกับไปร้านนวดไหม? ทำไมปวดหลังต้องไปหาหมอ? ต่างกับไปนวดตรงไหน?
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูคือ.... ซึ่งต้องจบแพทย์ศาสตร์และต่อเฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยทำการรักษาคนไข้ที่มีอาการบาดเจ็บทางกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น และเส้นประสาท เช่นโรคปวดหลังเรื้อรัง ปวดเข่าจากวัยที่มากขึ้น ปวดหัวเรื้อรัง ปวดร้าวลงแขนขา มือชา หมอนรองกระดูกอักเสบ รองช้ำ เป็นต้น ส่วนวิธีการรักษาของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูประกอบไปด้วยการใช้ยา การฝังเข็ม การฉีดยา PROLOTHERAPY การปั่นเลือดPRP การใช้STEM CELL และการใช้เครื่องมือกายภาพโดยทีมนักกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดจึงเป็นเครื่องมือในการรักษาอย่างหนึ่งของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ส่วนนักกายภาพบำบัดรักษาโรคโดยการใช้เครื่องมือกายภาพบำบัด เช่น เครื่องเลเซอร์กำลังสูง เครื่องดึงหลัง เครื่องอัลตราซาวน์ การติดเครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เครื่องพลังงานความร้อนสูง เครื่องคลื่นความถี่ระยะสั้น และการใช้เทคนิคการรักษาอื่นๆเช่น การทำวารีบำบัด การออกกำลังกายในน้ำ การประคบร้อน การประคบเย็น การคลายกล้ามเนื้อ และการการนวดก็เป็นวิธีหนึ่งของนักกายภาพบำบัดเช่นกัน
สรุป การนวดเป็นส่วนหนึ่งของการทำกายภาพบำบัดและการทำกายภาพบำบัดเป็นส่วนหนึ่งของเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะเห็นได้ว่าการรักษาอาการปวดอาการเดียวกันนั้นจะรักษาโดยการนวดทั่วไป หรือการปรึกษานักกายภาพบำบัด หรือการหาแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูก็ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับอาการเจ็บปวดเป็นหลัก หากมีอาการบาดเจ็บแล้วรักษาผิดวิธีหรือปล่อยไว้ไม่รักษาแต่เนิ่นๆ อาทำให้เกิดการอักเสบนั้นเป็นมากขึ้นและกลายเป็นปัญหาการบาดเจ็บเรื้อรังได้
การปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูจะทำให้ผู้ป่วยได้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของอาการบาดเจ็บนั้นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ทำให้อาการปวดทุเลาลง การแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องแบบเฉพาะบุคคลจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และวิธีการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว เพราะเราเชื่อว่าความสุขจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพที่แข็งแรง อย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอีกเลยค่ะ หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการดังกล่าว โทรปรึกษาเราก่อนได้ค่ะที่ REHAB CARE CLINIC 061-801-2482