Skip to main content

แกว่งแขน ท่าออกกำลังกายยอดฮิต เสี่ยงเอ็นไหล่ฉีกได้

แกว่งแขน ท่าออกกำลังกายยอดฮิต เสี่ยงเอ็นไหล่ฉีกได้
Posted: December 12, 2023 By: adminrehabcare2 Categories:  ปวดไหล่ Comment:  0

แกว่งแขนทำให้เอ็นไหล่ฉีกได้อย่างไร ก่อนอื่นมาทำความรู้จักโครงสร้างของข้อไหล่กันก่อน โดยปกติข้อไหล่ของเรา ประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกท่อนแขนด้านบน (humerus) กระดูกสะบัก (scapular) และกระดูกไหปลาร้า (clavicle)

ส่วนประกอบของข้อไหล่

1. เยื่อหุ้มข้อไหล่ (capsule) จะค่อนข้างยืดหยุ่นและสามารถขยายตัวหรือหดตัวตามการขยับของข้อไหล่

2. เส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) ซึ่งมีกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น 4 มัดที่ช่วยเสริมความมั่นคงให้กับข้อไหล่ เป็นแกนหมุนและ ช่วยในการขยับข้อไหล่

3. ถุงน้ำ (bursa) ช่วยในการหล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีของเส้นเอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) กับกระดูกส่วนบนของไหล่ (acromion) เมื่อมีการอักเสบหรือมีการฉีกขาดของเส้นเอ็นข้อไหล่ตัวถุงน้ำจะมีภาวะอักเสบ (bursitis) และมีอาการเจ็บ ร่วมด้วย

การแกว่งแขนที่ผิดวิธี คือ การคว่ำมือแกว่งแขนที่ “เร็ว แรง และซ้ำๆ” จะทำให้เกิดภาวะเอ็นไหล่ฉีกขาดได้จากท่าทาง ที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการกดเบียดของหัวกระดูกต้นแขนกับเบ้าของกระดูก เส้นเอ็น rotator cuff ที่ลอดผ่านบริเวณนั้นจะเกิด การเสียดสีกับกระดูก ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบได้ และหากการบาดเจ็บรุนแรงอาจถึงขั้นเส้นเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (rotator cuff tear) ได้

อาการที่พบได้ในผู้ที่มีภาวะเอ็นข้อไหล่ฉีก

1. ปวดไหล่ตอนกลางคืน หรือปวดเมื่อนอนตะแคงทับ

2. ไม่สามารถขยับไหล่ได้เต็มที่ หรือรู้สึกขัดเสียวขณะขยับในบางท่าทาง โดยเฉพาะท่าบิดหรือไขว้หลัง

3. อ่อนแรง ไม่สามารถยกหรือขยับไหล่ได้

ดังนั้นรีแฮปแคร์คลินิกแนะนำว่าหากต้องการแกว่งแขนเพื่อออกกำลังกาย ให้ทำโดยหงายมือขึ้น ยกแขนขึ้นลงช้าๆ เท่านี้ ก็จะสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของข้อไหล่ได้

ภาพแสดง การแกว่งแขนแบบถูกวิธี

หากใครมีอาการปวดไหล่ ในเบื้องต้นทางคลินิกแนะนำให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รุนแรง เลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้ เกิดอาการเจ็บ และระมัดระวังการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เช่น งดการยกของหนัก งดการเอื้อม หมุน บิดไหล่ เพื่อไม่ให้มีการ บาดเจ็บเพิ่มขึ้น และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและรักษาโดยเร็ว

ซึ่งทางคลินิกรีแฮปแคร์ มีวิธีการตรวจประเมินที่ทำได้ง่ายและรวดเร็ว คือ การตรวจประเมินด้วยเครื่อง อัลตราซาวด์ วินิจฉัย (musculoskeletal ultrasound) ช่วยให้เห็นความผิดปกติของเส้นเอ็นข้อไหล่ เช่น การอักเสบ ฉีกขาด หรือข้อไหล่เสื่อม เป็นต้น

แนวทางการรักษาอาการปวดไหล่ เส้นเอ็นไหล่ฉีก

เมื่อตรวจประเมินและวินิจฉัยแล้วแพทย์จะวางแผนการรักษาให้อย่างเหมาะสม ได้แก่

1. การรักษาทางกายภาพบำบัด คือ การใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น focus shockwave (พลังงานคลื่นกระแทก) บริเวณที่มีเส้นเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบเพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมฟื้นฟูได้ดี, high power laser (เลเซอร์พลังงานสูง) เพื่อลดการ อักเสบและเร่งกระบวนการซ่อมแซมบริเวณที่บาดเจ็บ และการออกกำลังกาย เป็นต้น

2. การฉีดยาโดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์นำวิถี เช่น การฉีดเกล็ดเลือดสกัดเข้มข้น (PRP) หรือการฉีดกลูโคส (prolotherapy) ทำให้ การรักษาตรงจุด รวดเร็วและมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการระมัดระวังท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวดและแกว่งแขนอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เกิดการ บาดเจ็บ หากใครที่มีอาการบาดเจ็บแล้วควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาไม่ปล่อยให้ให้อาการเรื้อรัง