อาการปวดข้อมือในคุณแม่หลังคลอด มักพบได้บ่อยกับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกตั้งแต่ช่วงหลังคลอดจนถึงช่วงวัยก่อนลูกน้อยเดินได้ ซึ่งเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องอุ้มลูกเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ หรือที่เราเรียกกันว่า “โรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s disease / โรคเดอกาแวง)” โดยจะมีอาการปวดบริเวณข้อมือและโคนนิ้วหัวแม่มือ และอาจจะมีปวดไปบริเวณแขนท่อนปลายได้ ซึ่งสาเหตุเกิดจากการใช้งานข้อมือหรือนิ้วหัวแม่มือลักษณะเดิมซ้ำๆ เป็นระยะเวลานานจนเกิดการอักเสบขึ้น และหากยิ่งมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นได้
ในชีวิตประจำวันของเรา นิ้วโป้งหรือนิ้วหัวแม่มือ เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่ถูกใช้งานมากและใช้งานอยู่ตลอดเวลา ทั้งในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นโทรศัพท์ ถือของ รวมถึงการทำงาน เพราะฉะนั้นจึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง โดยโรคที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่
อาการปวดไหล่ เป็นอาการที่นำไปสู่โรคได้หลากหลาย ซึ่งต้องมีการประเมินอาการเพื่อหาสาเหตุและตัวโรคที่ชัดเจน เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดย 2 โรคที่พบในอาการปวดไหล่นอกจากโรคไหล่ติด คือ
1. ภาวะกระดูกทับเส้นเอ็น (Shoulder Impingement Syndrome : SIS ) หรือ Painful Arc Syndrome เป็นภาวะที่จะมีอาการปวดไหล่ทางด้านหน้า เกิดจากการที่กระดูกบริเวณ Coracoacromial Arch และส่วนหัวของกระดูกต้นแขนเกิดการเสียดสีกัน ทำให้เกิดการกดเบียดเส้นเอ็นข้อไหล่ (Rotator Cuff) ส่งผลให้เกิดการอักเสบและบาดเจ็บตามมา โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
การใช้ประคบเย็น เพื่อลดอาการปวด
ควรใช้ในกรณีหลังมีการบาดเจ็บมาในช่วง 24 - 48 ชั่วโมงแรก หรือมีข้อบ่งชี้ว่าเส้นเลือดบริเวณนั้นมีการฉีกขาด หรือมีการอักเสบ ได้แก่ มีอาการปวด ร่วมกับการบวม แดง และร้อน ซึ่งความเย็นมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดออกน้อยลง การบาดเจ็บและการอักเสบจึงลดลงตามไปด้วย
อาการที่ควรประคบเย็น เช่น ปวดศีรษะ มีไข้สูง ปวดฟัน ปวดบวมข้อเท้า ข้อเคล็ด เลือดกำเดาไหล หรือ ปวดบวมบริเวณอื่นๆ ที่เกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเริ่มมีอาการปวดในช่วงแรก